วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เด็กออทิสติกกับปัญหาการศึกษา

.
.
.


. เด็กออทิสติกกับปัญหาการศึกษา
000เด็กออทิสติกจะมีการสนใจเป็นระยะเวลาที่สั้นมากเนื่องจากเด็กออทิสติกมีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป จนเสมือนหนึ่งว่ามีกำแพงที่เราไม่สามารถมองเห็นได้มากั้นระหว่างเด็กออทิสติกกับเราไว้ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่ยอมสนใจและมีปฏิกิริยากับ
บุคคลรอบข้างโดยเฉพาะในเด็กออทิสติกที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะพบว่ามีพฤติกรรมที่อยู่ไม่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายมากผิดปกติ และเป็นการ
เคลื่อนไหวโดยไร้จุดมุ่งหมาย ทำให้ช่วงความสนใจสั้นและวอกแวกง่ายต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ส่วนการสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ เช่น ช่วงดูโฆษณาทางทีวีซ้ำ
แล้วซ้ำแล้วนั้น ก็เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็กออทิสติก เช่นกัน

000ถ้าเด็กออทิสติกมีช่วงความสนใจเพียง2-3วินาทีเท่านั้นจนดูเหมือนกับเด็กไม่มีความสนใจเลยเช่นเด็กสามารถใช้เชือกร้อยลูกปัดได้เพียงลูกเดียวหรือ
หยิบของเล่นใส่ในกล่องได้เพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าเด็กจะทำอย่างเร่งรีบ เมื่อทำเสร็จแล้วเขาก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระที่จะทำอะไร
ตามความต้องการของเขาได้ เช่น กระโดด หมุนตัวไปมา เล่นมือตัวเอง เป็นต้น คือการกลับไปสู่ในโลกของตนเอง

000การช่วยเหลือ เมื่อผู้สอนเห็นว่าเด็กมีความสามารถที่จะทำได้ ผู้สอนจะต้องพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้เด็กได้ปฏิบัติตามในช่วงเวลาที่เพิ่มทีละน้อยด้วยความ
พอใจของเด็กด้วย เช่น ถ้าเด็กสามารถใช้เชือกร้อยลูกปัดได้เองหนึ่งลูกแล้วมีท่าทีจะลุกขึ้น ผู้สอนจะต้องรีบช่วยจับมือเด็กให้หยิบลูกปัดอีกลูกหนึ่งร้อยในเชือกต่อไป ถ้าเด็กยินยอมให้จับมือทำจะต้องชมเชยทุกครั้ง เป็นการกระตุ้นให้เด็กทำเองในครั้งตอ่ไปสลับกับการช่วยจับมือเด็กไปเช่นนี้ซ้ำๆ ก็จะเป็นการช่วยให้เด็กมีช่วงระยะ
การสนใจนานมากขึ้น การจัดที่ให้เด็กนั่งควรจะเป็นที่ที่เด็กลุกขึ้นลำบาก เช่น ให้เด็กนั่งอยู่ในมุมจำกัด หรือโต๊ะที่ประกอบเป็นเครื่องวงกลมโดยให้เด็กนั่งตรงกลาง ห้องก็ควรจะเงียบไม่มีคนพลุกพล่าน ซึ่งจะทำให้เด็กวอกแวกได้ง่าย ควรจะสอนให้เด็กทำกิจกรรมเฉพาะแต่ละคนก่อน เมื่อเริ่มยินยอมทำตามได้นานขึ้น จึงจัดให้
ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเด็กๆ โดยมีเด็กร่วมในกิจกรรมเดียวกันเพียง 2-3 คน เท่านั้น

ปัญหาในการสื่อความหมายและภาษา

000เด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการทางด้านการสื่อความหมายไม่ดีจะไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำพูดหรือคำสั่งได้ดีเท่ากับเด็กปกติในวัยเดียวกันมักจะถาม
คำถามที่ซ้ำซากและไม่สนใจในคำตอบ บางครั้งจะกลับไปอยู่ในโลกของตนเองอีกเป็นครั้งคราว โดยการพูดภาษาของตนเองที่คนทั่วไปฟังไม่เข้าใจการช่วยเหลือ การสั่งให้เด็กทำอะไรควรเป็นคำสั่งง่ายๆ ข้อความสั้นๆ และเป็นคำสั่งเดียวคำพูดต้องไม่ซับซ้อน เด็กจึงจะทำตามได้ ให้จำไว้ว่าแม้เด็กออทิสติกสามารถจะพูดตาม
ได้เป็นประโยคยาวๆ หรือร้องเพลงได้จนจบเพลง แต่นั่นเป็นเพียงการลอกเลียนแบบเท่านั้น โดยเด็กจะไม่รู้ความหมายหรือเข้าใจในการพูดของเขาเลย

เด็กออทิสติกเรียนรู้ได้โดยการลอกเลียนแบบ

000ถ้าพบว่าเด็กออทิสติกมีความยากลำบากที่จะเช้าใจคำสั่งของท่าน การช่วยเหลือก็คือให้เด็กอื่นที่รู้เรื่องทำตัวอย่างให้ดู และให้เด็กออทิสติกทำตามใช้คำสั่งสั้นๆ
ง่ายๆที่เกี่ยวกับสิ่งของรอบตัวก่อนจนเด็กปฏิบัติตามได้จึงเป็นคำสั่งที่ยาวขึ้นแต่เห็นได้ชัดว่าเด็กออทิสติกมีความแตกต่างจากเด็กออทิสติกจะมีความสามารถมากกว่า
ในการกระทำกิจกรรมในด้านศิลปะความละเอียดอ่อนเช่นการเขียนรูปภาพต่างๆโดยช่วยจับมือเด็กให้เขียนตามก่อนเด็กออทิสติกจะทำได้เร็วกว่าและดีกว่าเด็กบางคน
ที่มีความสามารถเด่นทางด้านนี้ จะสามารถวาดภาพเหมือนของจริงที่วางไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างได้ดี ฉะนั้น แพทย์ควรวางแผนให้เด็กออทิสติกได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ
ในวัยเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์ให้เด็กออทิสติกได้ลอกเลียนแบบจากเด็กปกตินั่นเอง

ความสามารถในการรับรู้ของเด็กออทิสติก


000พฤติกรรมของเด็กออทิสติกในระยะแรกที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม จะไม่สามารถรับรู้ธรรมชาติของสิ่งเร้าผ่านอวัยวะรับความรู้สึก เช่น ตา หู จมูก ปาก
และผิวหนังเมื่อพิจารณาถึงความสามารถของเด็กออทิสติกกับเด็กปกติจะเห็นได้ชัดว่าเด็กออทิสติกจะมีความสามารถที่จะจำสิ่งต่างๆได้ดีกว่าเด็กปกติซึ่งเป็นความสามารถ
พิเศษเฉพาะตัวที่พบได้ในเด็ก ออทิสติก ควรนำสิ่งนี้มาใช้เป็นประโยชน์ในการสอนเด็กออทิสติก เพราะเขาจะจดจำภาพต่างๆ ได้ดี เด็กออทิสติกจะขาดความสามารถในการ
สร้างจินตนาการเด็กออทิสติกจะมีการเล่นที่ซ้ำๆติดต่อกันอยู่ตลอดเวลาเหมือนเครื่องจักรเด็กออทิสติกที่มีอายุน้อยมักจะมีการเล่นที่ซ้ำๆได้ครั้งละนานหลายชั่วโมงถ้าเด็กออทิส
อายุมากขึ้นการมีพฤติกรรมซ้ำๆจะลดลงแต่จะเปลี่ยนเป็นการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวันการจะช่วยเหลือให้เด็กลดพฤติกรรมซ้ำซากก็ทำได้โดยใช้กิจกรรมอื่นที่เด็ก
สนใจมาทดแทนทีละน้อย

ความเข้าใจและการแสดงความรู้สึกของเด็กออทิสติก

000เด็กออทิสติกไม่สามารถแสดงความรู้สึกของเขาได้เหมือนเด็กปกติ เขาไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางให้เห็นได้ชัดเจนว่ามีความสุขหรือมีอารมณ์เศร้าหรือมีความกลัว หรือมีความโกรธ เด็กออทิสติกจะยิ้มไม่เป็น บางคนร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หรือแสดงอารมณ์ไม่สมเหตุสมผล ผู้ฝึกสอนควรยิ้มกับเด็กบ่อยๆ แสดงสีหน้าให้เห็นว่าเรายินดี เมื่อ เขากระทำกิจกรรมที่สอนเขาได้ พร้อมทั้งกล่าวชมเชย หรือตบมือ ไม่ควรแสดงความกังวลใจให้เด็กเห็นใจขณะฝึกสอน

ความจำของเด็กออทิสติก

000เด็กออทิสติกจะมีความสามารถเกี่ยวกับความจำดีจะจำได้นานฉะนั้นจะลืมยากถ้าได้เรียนรู้แล้วฉะนั้นการช่วยเลหือเด็กออทิสติกในการเรียนรู้นั้นควรจะมีความเข้าใจเด็ก
ออทิสติกแต่ละคนอย่างดีเสียก่อนและนำเอาข้อดีต่างๆของเด็กมาเป็นสิ่งที่นำทางในการฝึกสอนก่อนเมื่อเด็กเรียนรู้ได้ก็เหมือนกับได้รางวัลทั้งเด็กและผู้ฝึกสอนทั้งยังเป็นสิ่งล่อ
ใจในการสอนในเรื่องอื่นๆ ต่อไป

ข้อควรระวัง

000ไม่ควรรีบเร่งสอนและบังคับเด็กในการเรียนรู้มากจนเกินไป จะทำให้เด็กปฏิเสธได้ นอกจากจะไม่รับการเรียนรู้แล้ว ยังมีปัญหาทางด้านอารมณ์ และมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอื่น ๆ ตามมาอีกด้วยเด็กออทิสติกที่มีระดับสติปัญญาปกติและได้รับการช่วยเหลือจนสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไปได้ จะสนใจเรียนและเรียนได้ดี ในระยะ 2-3 ปีแรก ไม่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ นั่งเรียนอย่างสงบ พูดน้อย ไม่สู้เพื่อน ความจำในบทเรียนดีมาก เมื่อได้เรียนชั้นสูงขึ้น ในระดับประถมปีที่ 2 ประถมปีที่ 3 มักจะเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะเพื่อนจะไม่เข้าใจพฤติกรรมของเด็กออทิสติกบางอย่าง จึงมักจะถูกล้อเลียน เมื่อเรียนสูงขึ้นหลักสูตรการเรียนจะยากขึ้น เด็ก ออทิสติกจะเข้าใจยากและติดตามบทเรียนไม่
ทันจะทำให้ท้อถอยเบื่อหน่ายและไม่อยากเรียนฉะนั้นการวางแผนให้เด็กได้เรียนร่วมกับเด็กปกติแพทย์ควรประสานงานกับครูและผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือ
เด็กได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เด็กออทิสติกมีการพัฒนาในการเรียนรู้ได้อย่างดีและสามารถอยู่ใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น