วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์

การกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์
          ทารกในครรภ์สามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้ ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และสภาพแวดล้อมที่ดี การที่แม่พยายามสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อลูกในครรภ์ จึงเป็นการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก แม่ที่อารมณ์ดีจะทำให้ทารกอารมณ์ดีเช่นกัน สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะจะพัฒนาเซลล์สมองทารกให้มีขนาดใหญ่ มีเส้นใยประสาทมากขึ้น เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
แนวทางการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์
ระบบการได้ยิน
           ประมาณอายุครรภ์ 24-26 สัปดาห์ขึ้นไป ระบบการได้ยินของทารกจะมีการพัฒนาเต็มที่โดยรับรู้และตอบสนองต่อเสียงที่อยู่รอบตัวได้ ดังนั้นจึงมีการนำเอาเสียงภายนอกมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ วิธีการนี้จะทำให้ทารกเคยชินต่อเสียง และเป็นการพัฒนาภาษาพร้อมกันไปด้วย
          a. การใช้เสียงดนตรี
           ตามปกติแล้วจะมีเสียงต่างๆ ผ่านเข้ามาถึงตัวทารกที่อยู่ในท้องแม่ตลอดเวลา เสียงที่เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้ทารกควรเป็นเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะเบาๆ เช่น เพลงบรรเลง อาจเป็นเพลงคลาสสิกหรือเพลงไทยเดิมก็ได้ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ที่มากกว่า 24 สัปดาห์ เพราะประสาทสัมผัสและระบบการได้ยินของทารกจะพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ในช่วงนั้น (ทารกที่คลอดออกมามีพัฒนาการด้านร่างกายและไอคิวสูง เลี้ยงง่าย มีอารมณ์แจ่มใสและมีความผูกพันกับแม่)
          ทารกมักแจ่มใสและเคลื่อนไหวในเวลาเย็น เป็นเวลาที่ทารกตื่นตัว พร้อมที่จะรับฟังเสียงได้ โดยสังเกตได้จากการดิ้นของทารก ซึ่งแสดงว่าทารกยังไม่หลับจะเป็นช่วงที่เหมาะสม
          แนวทางปฏิบัติ ให้เปิดเทปเพลงบรรเลงเย็นๆ ให้แม่และทารกในครรภ์ฟังไปพร้อมกัน เปิดเพลงวันละครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที ก็เพียงพอแล้ว ถ้าเปิดซ้ำบ่อยๆทารกจะคุ้นชินและจดจำเพลงได้ หลังคลอดเมื่อเปิดเพลงเดิมนั้นอีก จะช่วยให้ทารกไม่ร้องกวนและหลับง่ายขึ้น เนื่องจากความเคยชินต่อเสียงเพลงนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

2. เสียงพูดคุยของมารดา
          เสียงของแม่ถือได้ว่าเป็นเสียงธรรมชาติและเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพของทารกในครรภ์ได้ เสียงที่นุ่มนวล เสียงร้องเพลง จะช่วยให้ทารกจดจำเสียงนั้นได้ดีขึ้น
          แนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์พับเป็นรูปปากกรวย ปลายส่วนที่แคบเป็นทางเข้าของเสียงแม่ ส่วนปลายกว้างไว้จ่อบริเวณหน้าท้องเพื่อให้ทารกรับฟัง หรือใช้เครื่องมือพูดคุยกับทารกในครรภ์ที่เรียกว่า Infant Phone ซึ่งมีปลายหนึ่งไว้ให้มารดาพูด ส่วนอีกปลายหนึ่งไว้ครอบที่หน้าท้อง บริเวณใกล้ศีรษะของทารกในครรภ์ก็ได้ โดยแม่อาจเล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมทารกบ่อยๆ เพื่อให้ทารกชินกับนิทานหรือเพลงขับกล่อมนั้นๆ ตั้งแต่ในครรภ์ เมื่อคลอดแล้วมารดาสามารถนำนิทาน หรือเพลงขับกล่อมนั้นมาช่วยทำให้ทารกสงบและหลับง่ายขึ้น

ระบบรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว
          ทารกจะมีการเคลื่อนไหวและได้รับการสัมผัสตลอดเวลาที่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะขณะที่แม่ขยับตัว หรือลูบและสัมผัสทารกในครรภ์โดยผ่านทางหน้าท้องนั้น ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก ทุกสัมผัสที่เกิดขึ้นจะพัฒนาเส้นใยประสาทของสมองส่วนรับความรู้สึก เพิ่มประสิทธิภาพและความไวในการรับรู้ของทารก เพื่อเตรียมพร้อมให้ใช้งานได้ดีในช่วงหลังคลอด ขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างความอบอุ่น และความผูกพันระหว่างแม่ลูก
          การที่แม่นั่งบนเก้าอี้โยกไปมานั้น นอกจากจะกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวแล้วยังทำให้ทารกในครรภ์ได้ปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
          แนวทางปฏิบัติ ให้แม่ลูบหน้าท้อง และนั่งโยกบนเก้าอี้ได้ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าในช่วงนี้ทารกยัง ไม่สามารถรับรู้ แต่แม่จะรู้สึกผ่อนคลายขณะนั่งเล่นบนเก้าอี้โยก และรู้สึกผูกพันกับทารกขณะลูบหน้าท้องตัวเอง จนเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป ระบบประสาทการเคลื่อนไหวของทารกจะมีความพร้อมต่อการรับรู้การสัมผัสของแม่

ระบบการมองเห็น
          ทารกจะพัฒนาเต็มที่ และรับรู้ผ่านการมองเห็นได้เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ทางการแพทย์จะใช้แสงสว่างส่องผ่านเข้าไปถึงทารกในครรภ์โดยผ่านทางปากมดลูก เพื่อดูการตอบสนองของการเต้นของหัวใจ และทดสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของทารกในครรภ์
          ถ้าการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้นตอนส่องไฟ แสดงว่าทารกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าดีและมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในทางตรงข้าม หากให้แสงแล้ว การเต้นของหัวใจทารกไม่สูงขึ้น แสดงว่าทารกในครรภ์อาจมีปัญหาเกิดขึ้น สำหรับการใช้ไฟส่องผ่านทางหน้าท้องของมารดานั้น ยังไม่มีรายงานวิจัยทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของทารก

เลือกดนตรีคลาสสิกให้เหมาะกับทารก

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย



เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


เพลงทำอะไร ย่ะ
จะทำอะไร ย่ะ ๆ จะทำอะไร จะทำอะไร ทำไมโอ้เอ้
ลุกขึ้นแต่เช้า อย่ามัวโง่เขลา ทำใจโลเล
อาบน้ำแปรงฟัน ของเรานั้น อย่าทำโฉเก
ก็มัวทำอะไร ทำไมไม่ไปโรงเรียนโอ้เอ้ ทำอะไรย่ะๆ

เพลงนี่ของฉัน
นี่มือของฉัน นี่ผมของฉัน นี่หัวของฉัน นี่จมูกของฉัน
เพลงเสียงฝน
เสียงฝน หล่นจากฟากฟ้า สาดซัดมารหนาวเย็นกระไร (ซ้ำ)
พวกเราอย่าออกไปไหน เปียกฝนไปจะเป็นหวัดเอย


เพลงสะอาด

ไหนดูเล็บมือ นี่ไงล่ะ ๆ

แหมสะอาดดีนี่เธอ ขอบคุณค่ะ ๆ
ไหนลองดูฟัน ๆ นี่ไงล่ะ ๆ
แหมสะอาดดีนี่เธอ ขอบคุณค่ะ ๆ


เพลงตำรวจจ๋า

ตำรวจจ๋ากรุณาหนูหน่อย หนูน้อย น้อยจะข้ามถนน
เดินดี ๆอย่าวิ่งซุกซน จะข้ามถนนทุกคนควรระวัง
(ต้องข้าถนนตรงทางม้าลาย)


เพลงสวัสดี

หญิง เมื่อเจอกันฉันทักทายสวัสดี ค่ะ
ชาย สวัสดี ครับ
หญิง ไปไหนมาจ๊ะ
ชาย ไปธุระมาหน่อย
หญิง ก่อนจากกัน ฉัน กล่าวคำ สัสดีค่ะ
ชาย สวัสดี ครับ
หญิง ชาย ส่งยิ้มให้ ส่งยิ้มให้ ซึ่งกัน
เพลงอย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ๆ ๆ

เพลงอายน้ำ


อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าฟอกสบู่ถูตัว
ชำระเหงื่อไคลบลาดให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
เราไม่ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ


เพลงบ้านฉัน

บ้านฉันมีนกกระจอก ส่งเสียงจอก ๆอยู่บน
บ้านฉันนั้นชอบเลี้ยงนกๆ มันบินโผผกไปมา
บ้านฉันมีดอกไม้สวย บ้านฉันมีกล้วยไม้ป่า
บ้านฉันมีบ่อเลี้ยงปลา ตอนเย็นกลับมาช่างเพลินใจ
พวกเราทุกคนมีความสุขล้นที่บ้าน หลังจากช่วยแม่ทำงานๆ
เราต่างชื่นบานที่บ้านของเรา
เพลงเสือกับวัว
1 2 3 ไล่ตามกันมา วัวอยู่ข้างหน้า ไม่ต้องหลบหนี
เสืออยู่ข้างนอก ล่อหลอกให้ดี
จับวัวได้ทันที เป็นผู้มีชัย


เพลง สา...หวัดดี.....น้องสาว

ซา...หวัดดี..น้องสาว ๆ ผิวเจ้าขาวแจ่มจันทร์
ดังสรรค์ลงมาแต่ง ส่ายตาน้องผ่านไป
ส่ายตาอ้ายผ่านมา พาให้ฝันละเมอ
เชิญเข้ามาน้องสาว เจ้าอย่าได้เอียงอายๆ พี่จะได้ชื่นหัวใจ


เพลงแบมือแล้วกำ

แบมือแล้วกำๆ สลัดให้มันแรงๆ ไต่เต้าตามกันๆ ไต่ให้ถึงลูกคางๆ
แบมือแล้วกำๆ ตบให้ดังแผะๆ ไต่เต้าตามกันๆ ไต่ให้ถึงลูกคางๆ
แบมือแล้วกำๆ วางบนตักนั่นแหละๆ
ไต่เต้าตามกันๆ ไต่ให้ถึงลูกคางๆ หนูน้อยเอยอ้าปากก็เห็นฟัน


เพลงเอ อี ไอ โอ ยู

ปู่ของฉันนั้นเป็นชาวนา เออีไอโอยู ลูกหมาเล็กๆอยู่กลางทุ่งนา
เออีไอโอยู มันร้อง (เสียงสัตว์...) นี่ก็ร้องบ๊อกๆ ...บ๊อก ๆ
นั่นก็ร้องบ๊อก นี่ก็ร้องบ๊อก บ๊อก ๆ ๆ ๆ


เพลงสาวชาววัง

สาวชาววังเอวเล็กเอวบางปะแป้งบาหยัน
คนนั้นเป็นของใครกัน ๆ ถ้าเป็นของฉัน ๆรักตายเลย



เพลงดุกดุ๋ย

ดุกดุ๋ย ๆ แมลงสาบออกหากินขนมอมลูกอมเสียจนแก้มตุ่ย
ควายตัวเมียออกลูกมาเป็นตัวเมีย
อยู่มาไม่นานมีลูกมีหลานก็เป็นตัวเมีย
เพลงปลูกผักสวนครัว
ช่วยกันปลูกผักสวนครัวๆ พรวนดินให้ทั่วปลูกถั่วฟักยาว
ข่าตระไคร้ มะกรูด มะนาว โหระพา กระเพรา น้ำเต้า ฟักทอง
เพลงตบมือซ้าย ขวา
ตบมือข้างซ้ายๆ ตบมือข้างขวาๆ เรามาสนุกเฮอา
ตบมือข้างซ้าย ตบมือข้างขวา
เพลงนี่แม่น
นี่แม่นผม นี่แม่นหน้าผาก นี่แม่นปาก นี่แม่นหูดัง นี่แม่หลัง
นี่แม่นหน้าแข่ง อันตองแตง เขาเรียกว่าแขน อันแบน แบน
เขาเรียกสะโพก เอาไว้โยก แซมบ้า ๆ
เพลงลูกแพะ
เตอะ แตะ ๆ ลูกแพะเดินโซเซมา
เดินโซซัดโซเซ ทำท่าโฉเก เตอะ แตะ ๆ


เพลงลิง

เตอะ แตะ ๆ เราเดินไป อะไรอยู่บนต้นไม้ โหนไปโหนมา


เพลงยานพาหนะ

หึ่ม ๆ ๆ เครื่องบินกระหึ่มบนฟ้า
ปิ้น ๆ ๆ รถยนต์แล่นมาแต่ไกล
ปู้น ๆ ๆ นั่นเสียงวูดของรถไฟ
ตึก ๆ ๆ เรือยนต์แล่นในแม่น้ำลำคลอง


เพลงเจ้านกโผบิน

นกเอยเจ้าโผบิน ออกหากินตามถิ่นดอน
จิ๊กทีกระโดดที ๆ ได้เหยื่อไม่ดีทำหัวสั่นหัวคลอน
เพลงยินดีที่พบกัน
วันนี้ยินดีที่เราได้มาพบกัน (ซ้ำ)
ยินดี ยินดี ยินดี มาเถิดมา เรามาร่วมสนุก
ปลดเปลื้องความทุกข์ให้มันสิ้นไป มาเถิดมา...
เรามาร่วมจิต ช่วยกันคิดให้การศึกษาเจริญ
เพลงหมวกกันแดด
หนูจ๋า หนูจะไปไหน ใส่หมวกปีกใหญ่ ปิดหน้าปิดตา
ลา ล้า ลา ลา บาบูมใบเย
พี่จ๋า หนูจะเดินไป โรงเรียนใกล้ใกล้ หาเพื่อนเพื่อนหนา
หนูจ๋า หนูจะไปไหน ใส่หมวกปีกใหญ่ ปิดหน้าปิดตา
พี่จ๋า หมวกปีกใบใหญ่ คุณแม่เย็บให้กันแดดดีหนา


เพลงฟันผุ

ทำนอง เพลงถอยห่าง
ฟันผุละซิ ๆ ๆ นั่นแหละ
ผุอีกละซิ ๆ ๆ นั่นแหละ
นั่นแน่ ๆ ๆ นั่งทำหน้าม่อย
ปวดฟันหน้าจ๋อย แหมครางอ๋อยเชียวแหละ
ทำมือทำไม้ บอกไบ้แบ๊ะๆ
ชักชวนแปรงฟัน ให้ทุกวันนั่นแหละ
แปรงขึ้นแปรงลง อย่าพะวงเลยแหละ
ฟันขาวเร็วรวด แหมหายปวดเลยแฮะ


เพลงเลียนเสียงนก

กาเว้า กาเว้า กาเว้า เสียงนกกาเว่าร้องแต่เช้าตรู
จุ๊กกรู ๆ ๆ นกเขาขันกรูเสียงเพราะจับใจ
โฮก โปก ๆ ๆ นกโพระดกร้องอยู่ไม่ไกล
นกกาบินมาแต่ไกล ส่งเสียงใส กา กา


เพลงนับ

เอามือทั้งสองแล้วกางออกไป (ซ้ำ)
ก้มหัวไว้ขาตึงหน้าตรง (ซ้ำ)
จับข้อเท้าให้มั่นคง
ย่อหัวลงแล้วจึงยืดตัว
หมุนรอบตัวเราเอง


เพลงปลูกมะเขือ

มะเขือเปราะ มะเขือเปราะ ปลูกมะเขือตรงไหนให้ได้ผลงามดี
ปลูกตรงนี้ดินสวยดี ปลูกตรงนี้แหละเหมาะ

อ้างอิงจาก
( นางรัชนี สาระพันธุ์โรงเรียนอนุบาลลพบุรี อ.เมือง จ. ลพบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 )

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เด็กออทิสติกกับปัญหาการศึกษา

.
.
.


. เด็กออทิสติกกับปัญหาการศึกษา
000เด็กออทิสติกจะมีการสนใจเป็นระยะเวลาที่สั้นมากเนื่องจากเด็กออทิสติกมีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป จนเสมือนหนึ่งว่ามีกำแพงที่เราไม่สามารถมองเห็นได้มากั้นระหว่างเด็กออทิสติกกับเราไว้ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่ยอมสนใจและมีปฏิกิริยากับ
บุคคลรอบข้างโดยเฉพาะในเด็กออทิสติกที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะพบว่ามีพฤติกรรมที่อยู่ไม่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายมากผิดปกติ และเป็นการ
เคลื่อนไหวโดยไร้จุดมุ่งหมาย ทำให้ช่วงความสนใจสั้นและวอกแวกง่ายต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ส่วนการสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ เช่น ช่วงดูโฆษณาทางทีวีซ้ำ
แล้วซ้ำแล้วนั้น ก็เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็กออทิสติก เช่นกัน

000ถ้าเด็กออทิสติกมีช่วงความสนใจเพียง2-3วินาทีเท่านั้นจนดูเหมือนกับเด็กไม่มีความสนใจเลยเช่นเด็กสามารถใช้เชือกร้อยลูกปัดได้เพียงลูกเดียวหรือ
หยิบของเล่นใส่ในกล่องได้เพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าเด็กจะทำอย่างเร่งรีบ เมื่อทำเสร็จแล้วเขาก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระที่จะทำอะไร
ตามความต้องการของเขาได้ เช่น กระโดด หมุนตัวไปมา เล่นมือตัวเอง เป็นต้น คือการกลับไปสู่ในโลกของตนเอง

000การช่วยเหลือ เมื่อผู้สอนเห็นว่าเด็กมีความสามารถที่จะทำได้ ผู้สอนจะต้องพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้เด็กได้ปฏิบัติตามในช่วงเวลาที่เพิ่มทีละน้อยด้วยความ
พอใจของเด็กด้วย เช่น ถ้าเด็กสามารถใช้เชือกร้อยลูกปัดได้เองหนึ่งลูกแล้วมีท่าทีจะลุกขึ้น ผู้สอนจะต้องรีบช่วยจับมือเด็กให้หยิบลูกปัดอีกลูกหนึ่งร้อยในเชือกต่อไป ถ้าเด็กยินยอมให้จับมือทำจะต้องชมเชยทุกครั้ง เป็นการกระตุ้นให้เด็กทำเองในครั้งตอ่ไปสลับกับการช่วยจับมือเด็กไปเช่นนี้ซ้ำๆ ก็จะเป็นการช่วยให้เด็กมีช่วงระยะ
การสนใจนานมากขึ้น การจัดที่ให้เด็กนั่งควรจะเป็นที่ที่เด็กลุกขึ้นลำบาก เช่น ให้เด็กนั่งอยู่ในมุมจำกัด หรือโต๊ะที่ประกอบเป็นเครื่องวงกลมโดยให้เด็กนั่งตรงกลาง ห้องก็ควรจะเงียบไม่มีคนพลุกพล่าน ซึ่งจะทำให้เด็กวอกแวกได้ง่าย ควรจะสอนให้เด็กทำกิจกรรมเฉพาะแต่ละคนก่อน เมื่อเริ่มยินยอมทำตามได้นานขึ้น จึงจัดให้
ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเด็กๆ โดยมีเด็กร่วมในกิจกรรมเดียวกันเพียง 2-3 คน เท่านั้น

ปัญหาในการสื่อความหมายและภาษา

000เด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการทางด้านการสื่อความหมายไม่ดีจะไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำพูดหรือคำสั่งได้ดีเท่ากับเด็กปกติในวัยเดียวกันมักจะถาม
คำถามที่ซ้ำซากและไม่สนใจในคำตอบ บางครั้งจะกลับไปอยู่ในโลกของตนเองอีกเป็นครั้งคราว โดยการพูดภาษาของตนเองที่คนทั่วไปฟังไม่เข้าใจการช่วยเหลือ การสั่งให้เด็กทำอะไรควรเป็นคำสั่งง่ายๆ ข้อความสั้นๆ และเป็นคำสั่งเดียวคำพูดต้องไม่ซับซ้อน เด็กจึงจะทำตามได้ ให้จำไว้ว่าแม้เด็กออทิสติกสามารถจะพูดตาม
ได้เป็นประโยคยาวๆ หรือร้องเพลงได้จนจบเพลง แต่นั่นเป็นเพียงการลอกเลียนแบบเท่านั้น โดยเด็กจะไม่รู้ความหมายหรือเข้าใจในการพูดของเขาเลย

เด็กออทิสติกเรียนรู้ได้โดยการลอกเลียนแบบ

000ถ้าพบว่าเด็กออทิสติกมีความยากลำบากที่จะเช้าใจคำสั่งของท่าน การช่วยเหลือก็คือให้เด็กอื่นที่รู้เรื่องทำตัวอย่างให้ดู และให้เด็กออทิสติกทำตามใช้คำสั่งสั้นๆ
ง่ายๆที่เกี่ยวกับสิ่งของรอบตัวก่อนจนเด็กปฏิบัติตามได้จึงเป็นคำสั่งที่ยาวขึ้นแต่เห็นได้ชัดว่าเด็กออทิสติกมีความแตกต่างจากเด็กออทิสติกจะมีความสามารถมากกว่า
ในการกระทำกิจกรรมในด้านศิลปะความละเอียดอ่อนเช่นการเขียนรูปภาพต่างๆโดยช่วยจับมือเด็กให้เขียนตามก่อนเด็กออทิสติกจะทำได้เร็วกว่าและดีกว่าเด็กบางคน
ที่มีความสามารถเด่นทางด้านนี้ จะสามารถวาดภาพเหมือนของจริงที่วางไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างได้ดี ฉะนั้น แพทย์ควรวางแผนให้เด็กออทิสติกได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ
ในวัยเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์ให้เด็กออทิสติกได้ลอกเลียนแบบจากเด็กปกตินั่นเอง

ความสามารถในการรับรู้ของเด็กออทิสติก


000พฤติกรรมของเด็กออทิสติกในระยะแรกที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม จะไม่สามารถรับรู้ธรรมชาติของสิ่งเร้าผ่านอวัยวะรับความรู้สึก เช่น ตา หู จมูก ปาก
และผิวหนังเมื่อพิจารณาถึงความสามารถของเด็กออทิสติกกับเด็กปกติจะเห็นได้ชัดว่าเด็กออทิสติกจะมีความสามารถที่จะจำสิ่งต่างๆได้ดีกว่าเด็กปกติซึ่งเป็นความสามารถ
พิเศษเฉพาะตัวที่พบได้ในเด็ก ออทิสติก ควรนำสิ่งนี้มาใช้เป็นประโยชน์ในการสอนเด็กออทิสติก เพราะเขาจะจดจำภาพต่างๆ ได้ดี เด็กออทิสติกจะขาดความสามารถในการ
สร้างจินตนาการเด็กออทิสติกจะมีการเล่นที่ซ้ำๆติดต่อกันอยู่ตลอดเวลาเหมือนเครื่องจักรเด็กออทิสติกที่มีอายุน้อยมักจะมีการเล่นที่ซ้ำๆได้ครั้งละนานหลายชั่วโมงถ้าเด็กออทิส
อายุมากขึ้นการมีพฤติกรรมซ้ำๆจะลดลงแต่จะเปลี่ยนเป็นการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวันการจะช่วยเหลือให้เด็กลดพฤติกรรมซ้ำซากก็ทำได้โดยใช้กิจกรรมอื่นที่เด็ก
สนใจมาทดแทนทีละน้อย

ความเข้าใจและการแสดงความรู้สึกของเด็กออทิสติก

000เด็กออทิสติกไม่สามารถแสดงความรู้สึกของเขาได้เหมือนเด็กปกติ เขาไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางให้เห็นได้ชัดเจนว่ามีความสุขหรือมีอารมณ์เศร้าหรือมีความกลัว หรือมีความโกรธ เด็กออทิสติกจะยิ้มไม่เป็น บางคนร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หรือแสดงอารมณ์ไม่สมเหตุสมผล ผู้ฝึกสอนควรยิ้มกับเด็กบ่อยๆ แสดงสีหน้าให้เห็นว่าเรายินดี เมื่อ เขากระทำกิจกรรมที่สอนเขาได้ พร้อมทั้งกล่าวชมเชย หรือตบมือ ไม่ควรแสดงความกังวลใจให้เด็กเห็นใจขณะฝึกสอน

ความจำของเด็กออทิสติก

000เด็กออทิสติกจะมีความสามารถเกี่ยวกับความจำดีจะจำได้นานฉะนั้นจะลืมยากถ้าได้เรียนรู้แล้วฉะนั้นการช่วยเลหือเด็กออทิสติกในการเรียนรู้นั้นควรจะมีความเข้าใจเด็ก
ออทิสติกแต่ละคนอย่างดีเสียก่อนและนำเอาข้อดีต่างๆของเด็กมาเป็นสิ่งที่นำทางในการฝึกสอนก่อนเมื่อเด็กเรียนรู้ได้ก็เหมือนกับได้รางวัลทั้งเด็กและผู้ฝึกสอนทั้งยังเป็นสิ่งล่อ
ใจในการสอนในเรื่องอื่นๆ ต่อไป

ข้อควรระวัง

000ไม่ควรรีบเร่งสอนและบังคับเด็กในการเรียนรู้มากจนเกินไป จะทำให้เด็กปฏิเสธได้ นอกจากจะไม่รับการเรียนรู้แล้ว ยังมีปัญหาทางด้านอารมณ์ และมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอื่น ๆ ตามมาอีกด้วยเด็กออทิสติกที่มีระดับสติปัญญาปกติและได้รับการช่วยเหลือจนสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไปได้ จะสนใจเรียนและเรียนได้ดี ในระยะ 2-3 ปีแรก ไม่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ นั่งเรียนอย่างสงบ พูดน้อย ไม่สู้เพื่อน ความจำในบทเรียนดีมาก เมื่อได้เรียนชั้นสูงขึ้น ในระดับประถมปีที่ 2 ประถมปีที่ 3 มักจะเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะเพื่อนจะไม่เข้าใจพฤติกรรมของเด็กออทิสติกบางอย่าง จึงมักจะถูกล้อเลียน เมื่อเรียนสูงขึ้นหลักสูตรการเรียนจะยากขึ้น เด็ก ออทิสติกจะเข้าใจยากและติดตามบทเรียนไม่
ทันจะทำให้ท้อถอยเบื่อหน่ายและไม่อยากเรียนฉะนั้นการวางแผนให้เด็กได้เรียนร่วมกับเด็กปกติแพทย์ควรประสานงานกับครูและผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือ
เด็กได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เด็กออทิสติกมีการพัฒนาในการเรียนรู้ได้อย่างดีและสามารถอยู่ใน

เด็กออทิสติกพัฒนาได้...หากรู้วิธี

วาไรตี้ น้ำตา เสียงถอนหายใจ สายตาที่เปล่งแววกังวล ท่าทีที่เหนื่อยล้า ท้อแท้ หนักใจ ผสมกับความผิดหวังและสิ้นหวัง มักมีปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในพ่อ แม่ ที่มีลูกเป็นกลุ่มเด็กที่เรียกกันว่า เด็กออทิสติก พ.ญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงเด็กออทิสติกให้ฟังว่า ทางแพทย์เรียกเด็กกลุ่มที่เป็น โรคออทิซึม (Autism) ว่า เด็กออทิสติก (Autistic Child) โดยโรคออทิซึม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในสมองที่มีการพัฒนาการล่าช้าของเด็ก ส่งผลให้มีความย่อหย่อนของประสาทการรับรู้ ทำให้พูดช้าและแยกตัวออกจากสังคม ความย่อหย่อนนี้จะขัดขวางหรือแปลผลข้อมูลที่รับรู้จากสายตา การได้ยินและประสาทสัมผัสอื่น ๆ ผิดพลาดจากปกติ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการทางการพูดและการสื่อสารของเด็กเป็นอย่างมาก จากการวิจัยเชื่อกันว่า มีความผิดปกติบางอย่างในสมองของเด็กกลุ่มนี้ ส่วนอะไรที่เป็นตัวการและเกิดปัญหาอยู่ตรงตำแหน่งใดในสมองนั้น ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและวิจัยอยู่ แต่เท่าที่มีการวิจัยออกมาพบสาเหตุของโรคนี้ได้ 3 รูปแบบ คือ สาเหตุแรก เกิดจากมีพยาธิสภาพที่ผิดปกติในสมอง จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการเฉพาะออกมา ซึ่งจะพบอาการออทิสติกร่วมกับเด็กที่มีเนื้อสมองอักเสบในวัยทารก ในเด็กที่เกิดจากแม่เป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ หรือในเด็กที่ขาดอากาศขณะคลอด เมื่อตรวจคลื่นสมองมักพบว่า มีความผิดปกติได้สูง 30-40 เปอร์เซ็นต์ และพบว่า มีสารซีโรโทนินสูงกว่าเด็กอื่น บางรายอาจพบความผิดปกติชัดเจนจากการตรวจเอกซเรย์พิเศษที่ระบบประสาท สาเหตุต่อมา คือ ไม่มีพยาธิที่ชัดเจน แต่มีผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยผ่านทางสารเคมีที่มีระดับผิดปกติ สาเหตุสุดท้าย เกิดจากกรรมพันธุ์ เนื่องจากพบโรคนี้ร่วมกับโรคที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น Tuberous Sclerosis และพบออทิสติกในครอบครัวได้ คนในครอบครัวรุ่นต่อไปจะมีโอกาสเกิดโรคนี้ ได้มากกว่าคนปกติ 50 เท่า และมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติอื่น ๆ ได้อีก เช่น ความบกพร่องทางภาษา หรือสังคม จำนวนเด็กออทิสติก พบได้ในเด็กทั่วโลก ไม่จำกัดพื้นฐานทางสังคม ในประเทศไทยพบ 4-5 คน ในจำนวนเด็กที่เกิดมา 10,000 คน เป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4 เท่า ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา พบว่ามีเด็กออทิสติกและกลุ่มอาการคล้ายออทิสติกอยู่ในสังคมประมาณ 50-60 ต่อ 10,000 คน โดยศึกษาในเด็กวัย 8-10 พบว่า ครึ่งหนึ่งของเด็กกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก ขาดจินตนาการในการเล่น มีพัฒนาการทางสังคมช้ากว่าอายุจริงและแยกตัวโดดเดี่ยวชัดเจน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะมีความผิดปกติบางอย่าง หรือมีเพียงเล็กน้อย หนึ่งในเด็กที่เป็นโรค ออทิสติก น้องโอ๊คอายุ 7 ขวบ ไม่ยอมสบตากับใคร สีหน้าเรียบเฉยไร้ความรู้สึก ไม่เล่นกับใครและไม่มีใครอยากเล่นด้วย เพราะเมื่อเพื่อนมาอยู่ใกล้ ๆ โอ๊คจะข่วนหน้าและทำร้ายโดยไม่มีสาเหตุที่ทำให้ต้องทำร้ายเพื่อนเลย หลังจากที่ทำร้ายเพื่อน สีหน้าของน้องโอ๊คก็ยังคงเรียบเฉย ไม่ไยดีกับเสียงร้องไห้หรือความเจ็บช้ำน้ำใจที่ตัวเองก่อขึ้นมากับผู้อื่น รวมทั้งน้องเจนสาวน้อยหน้าตาดีส่งเสียงเป็นมนุษย์ต่างดาวอยู่ตลอดเวลา ช่วงแรก ตอนเจนยังเล็ก ๆ คุณแม่ดีใจว่าเจนสามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้เร็ว แต่เมื่อจับรายละเอียดของเสียงที่เปล่งออกมา พบว่า ไม่เป็นภาษาของชาติใดๆ ในโลก เจนส่งเสียงในทุกที่ ทุกเวลาจนกว่าจะหลับ ใครพูดหรือไม่ได้พูดด้วย เจนก็ส่งเสียงดูคล้ายกับพูดด้วย โดยที่น้องเจนจะมายืนใกล้ ๆ มองหน้าด้วยแววตาที่ว่างเปล่า มองผ่านไร้แววจดจำ มองอย่างผิวเผิน เจนจะเป็นเด็กที่เข้าสังคมได้ดี ช่างพูด เพียงแต่พูดไม่รู้เรื่องเท่านั้น เข้าไปในห้องเรียนสามารถทำตามที่คุณครูสั่งได้ แต่ก็ยังส่งเสียงต่าง ๆ ไปด้วย ไม่สุงสิงหรือเล่นกับใคร ยกเว้นจะเข้าไปเพื่อพูดตามที่ตัว เองต้องการโดยไม่สนใจว่า คนที่เข้าไปพูดด้วยจะเข้าใจ หรือทำท่ารำคาญหรือไม่ ตอนแรก ๆ ทุกคนในโรงเรียนต่างหัวเราะเยาะและเพื่อน ๆ ล้อ แต่เจนก็ไม่เข้าใจและยังคงทำพฤติกรรมนี้ต่อ จนใคร ๆ ที่ โรงเรียนต่างเบื่อหน่ายกับเสียงของเจน จะเห็นได้ว่าเด็กมีความผิดปกติในด้านการพูด และการสื่อภาษา การแสดงท่าทางที่บอกถึงความหมายต่างๆ ให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ มีโลกส่วนตัว ไม่สบตาหรือมองหน้าคนที่พูดด้วย ซึ่งส่งผลกระทบกับการพัฒนาการด้านอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะการเข้าสังคม ไม่สนใจคน ไม่สนใจของเล่น ไม่สามารถเล่นกับเด็กในวัยเดียวกัน ขาดจินตนาการ นอกจากนั้นยังไม่สนใจคนรอบข้าง มักพบการเล่นมือโบกมือไปมา เดินจิกเท้า หรือเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ เล่นซ้ำ ๆ และทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ ถ้าใครมาเปลี่ยนจะกรีดร้องราวกับมีเรื่องใหญ่โต ทั้งหมดส่งผลทำให้เด็กไม่สามารถปรับตัวอยู่ในคมได้ จะเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก มีสภาพผิดปกติที่ยาวนาน บางคนอาจเป็นตลอดชีวิต แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กเหล่านี้จะเรียนรู้ไม่ได้ ถึงแม้ว่าโรคออทิสติก จะเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมอง ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวสูงมากโดยเฉพาะผู้เป็นพ่อ-แม่ แต่การฝึกกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทางกาย ตา หู จมูก และลิ้น จากการให้หันตามเสียงเรียก การสอนให้รู้จักสมาชิกในบ้าน การจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น การฝึกทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งกิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กสามารถทำกิจกรรมที่ต้องการทำได้ด้วยตัวเองเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กและช่วยลดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้ด้วย รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การฝึกพูด ฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้ การออกกำลังกาย ดนตรี กิจกรรมเข้าจังหวะ การเรียนการสอนเฉพาะตัวบุคคล จะเป็นแนวทางในการช่วยเหลือส่งเสริมให้เด็ก ๆ เหล่านี้พัฒนาต่อไปในอนาคตได้ สิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรรีบเร่งสอนและบังคับเด็กในการเรียนรู้มากจนเกินไป จะทำให้เด็กปฏิเสธได้ นอกจากจะไม่รับการเรียนรู้แล้ว ยังมีปัญหาทางด้านอารมณ์และมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย ฉะนั้นการวางแผนให้เด็กได้เรียนและเข้าสังคมร่วมกับเด็กปกติได้นั้น พ่อ-แม่จะต้องประสานงาน กับแพทย์ และครูอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันช่วยเหลือเด็กด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้เด็กออทิสติกเหล่านี้มีพัฒนาการในการเรียนรู้ได้อย่างดีและสามารถอยู่ในสังคมได้ตามปกติ ถนนไปสู่ความหวัง คงต้องอาศัยมือของพ่อ-แม่ เป็นหลัก ในการช่วยประคับประคองลูกให้ก้าวผ่านบทเรียนแต่ละบทไปให้ได้ เหนื่อยนักก็หยุดพัก เชื่อว่าเมื่อเดินมาอย่างถูกทาง ความสำเร็จย่อมรออยู่ที่เส้นชัย....

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ออทิสติก

ออทิสติก
Autistic Disorder
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ นับเป็นเวลา 60 ปีแล้ว ที่นักวิชาการรู้จักโรคนี้ และพยายามศึกษารายละเอียดต่างๆของโรค แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้ชัดเจน
ถึงแม้ว่ายังไม่ทราบสาเหตุ ก็ใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย การดูแลช่วยเหลือในปัจจุบันช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ดีขึ้นได้มาก โดยเฉพาะถ้าได้รับการวินิจฉัย และช่วยเหลือตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง
คำว่า “Autism” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “Auto” ซึ่งแปลว่า Self หมายถึง แยกตัวอยู่ตามลำพังในโลกของตัวเอง เปรียบเสมือนมีกำแพงใส หรือกระจกเงา กั้นบุคคลเหล่านี้ออกจากสังคมรอบข้าง
 

ประวัติความเป็นมา

ปี ค.ศ.1943 มีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรก โดยนายแพทย์ลีโอ แคนเนอร์ (Leo Kanner) จิตแพทย์ สถาบันจอห์น ฮอปกินส์ รายงานผู้ป่วยเด็กจำนวน 11 คน ที่มีอาการแปลกๆ เช่น พูดเลียนเสียง พูดช้า สื่อสารไม่เข้าใจ ทำซ้ำๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่สนใจคนอื่น เล่นไม่เป็น และได้ติดตามเด็กอยู่ 5 ปี พบว่าเด็กเหล่านี้ต่างจากเด็กปัญญาอ่อน จึงเรียกชื่อเด็กที่มีอาการเช่นนี้ว่า “ออทิสซึม” (Autism)
ปี ค.ศ.1934 นายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ ชาวออสเตรีย พูดถึงเด็กที่มีลักษณะเข้าสังคมลำบาก หมกมุ่นอยู่กับการทำอะไรซ้ำๆ ประหลาดๆ แต่กลับพูดเก่งมาก และดูเหมือนจะฉลาดมากด้วย แต่ว่าแอสเพอร์เกอร์ ถูกวิกฤตหลังสงครามโลกครั้งที่สองกลืนหายจนหมดซุ่มเสียง ไม่มีใครสานต่องานวิจัย
ออทิสซึมในความหมายของแอสเพอร์เกอร์ คล้ายคลึงกับของแคนเนอร์มาก นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า หมอ 2 คนนี้พูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorders)


ลักษณะอาการและการวินิจฉัย

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder - Forth Edition, 1994) จัดโรคออทิสติก (Autistic Disorder) อยู่ในกลุ่ม “Pervasive Developmental Disorders” ซึ่งก็คือ มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิด พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ
กำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยออทิสติกดังนี้
A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่า จากหัวข้อ (1) (2) และ (3) โดยอย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
1. มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
1.1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยาหรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
1.2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
1.3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
1.4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
2. มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้
2.1. พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย โดยไม่แสดงออกว่าอยากใช้การสื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน (เช่น แสดงท่าทาง)
2.2. ในรายที่มีการพูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้
2.3. ใช้คำพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
2.4. ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่นเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
3. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำ และรักษาเป็นเช่นเดิม โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
3.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ (stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่างๆมีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
3.2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
3.3. ทำกิริยาซ้ำๆ (mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)
3.4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B. มีความช้าหรือผิดปกติในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ ก่อนอายุ 3 ปี
(1) ปฏิสัมพันธ์กับสังคม
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
(3) เล่นสมมติหรือเล่นตามจินตนาการ
C. ความผิดปกติไม่เข้ากับ Rett's Disorder หรือ Childhood Disintegrative Disorder ได้ดีกว่า
กุญแจสำคัญ ที่เป็นตัวทำนาย โรคออทิสติก ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป มี 4 อาการหลัก ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรนึกถึงโรคออทิสติก และควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลืออย่างทันที อาการดังกล่าว คือ
•  เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น (lack of pretend play)
•  ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้ (lack of protodeclarative pointing)
•  ไม่สนใจเข้ากลุ่ม หรือเล่นกับเด็กคนอื่น (lack of social interest)
•  ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้ (lack of joint attention)
 
ระบาดวิทยา
การศึกษาด้านระบาดวิทยา ทำค่อนข้างยากเนื่องจากเกณฑ์ในการวินิจฉัยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาในช่วง 30 ปี พบว่า ความชุกของโรค เฉลี่ย 4.8 คนต่อประชากร 10,000 คน หรือประมาณ 1 คน ต่อประชากร 2,000 คน แต่ถ้ารวม แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม จะมีความชุกของโรคประมาณ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน
จากรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานในระยะหลัง พบว่า ความชุกของโรคเพิ่มมากขึ้น บางรายงานพบสูงถึง 1 คนต่อประชากร 250 คน (รวมถึง Atypical Autism, Asperger's Syndrome, PDD-NOS) ความชุกที่เพิ่มขึ้นอาจสะท้อนให้เห็นถึงอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นจริง แต่ในเบื้องต้น พบว่ามีความสัมพันธ์กับเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยที่กว้าง ครอบคลุมมากขึ้น (case definition) และประชาชนทั่วไปมีความตระหนักในโรคออทิสติกมากขึ้น (case recognition)
พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ประมาณ 3-4 เท่า แต่ในผู้หญิงจะมีอาการรุนแรงกว่า และการศึกษาช่วงแรกๆ Kanner เชื่อว่าพบมากในกลุ่มประชากรที่มีเศรษฐานะดี (high social class) แต่ปัจจุบัน พบว่ามีในทุกระดับชั้นของสังคมพอๆ กัน เป็นเพราะว่าเดิมกลุ่มที่มีเศรษฐานะดี เข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ดีกว่า (selection bias)
ส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย โดยพบภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงร้อยละ 50 ระดับน้อยถึงปานกลางร้อยละ 30 และไม่พบภาวะปัญญาอ่อนร้อยละ 20
 

สาเหตุของโรค

มีความพยายามในการศึกษาถึงสาเหตุของโรคออทิสติก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติที่ชัดเจน ในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติ มากกว่าเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม
ในอดีตเคยเชื่อว่าโรคออทิสติก เกิดจากการเลี้ยงดูในลักษณะที่เย็นชา (refrigerator) แต่จากหลักฐานข้อมูลในปัจจุบันยืนยันได้ชัดเจนว่า รูปแบบการเลี้ยงดูไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก
ปัจจัยทางชีววิทยา (biological factor) ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ มีดังนี้
1. ด้านพันธุกรรม (Genetic Factor)
* ศึกษาในฝาแฝด (twin study) พบว่าถูกควบคุมโดยปัจจัยด้านพันธุกรรมสูงมาก
* ศึกษาในครอบครัว (family study) พบว่าในญาติลำดับที่ 1 (first degree relative) ของผู้ที่เป็นโรคออทิสติก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคออทิสติก และกลุ่มโรคคล้ายออทิสติก (autistic like)
* ศึกษาโครโมโซม และวิเคราะห์ความเชื่อมโยง (chromosome study and linkage analysis) พบว่าเกี่ยวข้องกับ โครโมโซม 15q 11-13, โครโมโซม 7q และโครโมโซม 16p
2. ด้านเภสัชวิทยาระบบประสาท (Neuropharmacological Study)
พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีสื่อประสาท ซีโรโทนิน (serotonin) โดยมีระดับในเกล็ดเลือดสูงขึ้น แต่ยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่ชัดเจนได้ ว่าเกิดจากอะไร
3. คลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography - EEG)
พบว่ามีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง มากกว่าประชากรปกติ แต่ไม่พบลักษณะจำเพาะที่อธิบายความผิดปกติของการทำงานของสมองได้
4. ภาพฉายระบบประสาท (Neural Imaging)
พบความผิดปกติหลากหลายรูปแบบ แต่ยังคลุมเครืออยู่ ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน เช่น cerebellar vermis hypoplasia or hyperplasia, third ventricle ใหญ่ , caudate เล็ก , right anterior cingulate gyrus เล็ก
5. พยาธิวิทยาระบบประสาท (Neuropathological Study)
ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่จากหลายการศึกษาพบว่าเกี่ยวข้องกับจำนวน Purkinje cell ที่ลดลง
6. การศึกษาปริมาตรของสมอง (Study of Brain Volume)
พบว่ามีปริมาตรของสมองเพิ่มขึ้น ยกเว้นสมองส่วนหน้า (frontal lobe) และพบว่าเส้นรอบวงของศีรษะ (head circumference) ปกติในตอนแรกเกิด แล้วเริ่มมากผิดปกติในช่วงวัยเด็กตอนต้นถึงตอนกลาง
 

การดูแลรักษา

วิธีการดูแลรักษาต่างๆ ในปัจจุบันนี้ สามารถช่วยเหลือให้เด็กออทิสติก มีพัฒนาการดีขึ้นได้มาก จนสามารถเรียนรู้ ปรับตัว ใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคม และประกอบอาชีพได้ โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด (Independent Living) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
แนวทางการดูแลรักษาออทิสติก จำเป็นต้องใช้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team Approach) ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น (Child and Adolescent Psychiatrist) นักจิตวิทยา (Psychologist) พยาบาลจิตเวช (Psychiatric Nurse) นักแก้ไขการพูด (Speech Therapist) นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) ครูการศึกษาพิเศษ (Special Education Teacher) นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker) ฯลฯ
หัวใจสำคัญของการดูแลรักษาไม่ได้อยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่อยู่ที่ครอบครัวของบุคคลออทิสติกด้วยว่าจะสามารถนำวิธีการบำบัดรักษาต่างๆ ที่ได้รับ มาประยุกต์ใช้ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอหรือไม่
การดูแลรักษาบุคคลออทิสติก ไม่มีวิธีการใดที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด เพียงวิธีการเดียว และไม่มีรูปแบบที่เป็นสูตรสำเร็จ รูปแบบเดียวที่ใช้ได้กับทุกคน แต่ต้องเป็น “การดูแลรักษาแบบบูรณาการ” กล่าวคือ ใช้วิธีการบำบัดหลายวิธีร่วมกัน โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ ร่วมกับครอบครัวของบุคคลออทิสติก สุมหัวรวมความคิด ช่วยกันออกแบบการดูแลรักษา ให้เหมาะสมกับความสามารถ และสภาพปัญหาของแต่ละคน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แนวทางการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดก็ตาม ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลด้วยความรัก แล้วค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็จะไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ไม่ยาก
สำหรับแนวทางการดูแลออทิสติก มีความหลากหลาย ในที่นี้ได้สรุปรวบรวมแนวทางหลักๆ ออกเป็น 10 แนวทาง ดังนี้
1. ส่งเสริมพลังครอบครัว
2. ส่งเสริมความสามารถเด็ก
3. ส่งเสริมพัฒนาการ
4. พฤติกรรมบำบัด
5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
7. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
8. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
9. การรักษาด้วยยา
10. การบำบัดทางเลือก
รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามใน แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ

 

การพยากรณ์โรค

พบว่าบุคคลออทิสติก จำนวน 2 ใน 3 มีภาวะต้องพึ่งพิงผู้อื่น และต้องการผู้ดูแลตลอดชีวิต ในขณะที่จำนวน 1 ใน 3 มีภาวะพึ่งพาตนเองได้พอสมควร และพบว่าร้อยละ 1-2 สามารถพึ่งพาตนเองได้เต็มที่ (fully independent)
ตัวที่ทำนายผลลัพธ์ของโรคคือ ระดับสติปัญญา และความสามารถในการสื่อสาร ผู้ที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดี คือ มีระดับไอคิว น้อยกว่า50 มีการชักในช่วงวัยรุ่น หรือยังไม่พูดเมื่ออายุ 5 ปี
บุคคลออทิสติก พบว่าประมาณร้อยละ 4-32 จะมีอาการชักเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งทำให้การพยากรณ์โรคไม่ค่อยดีนัก
การดูแลรักษา ถ้าเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี พบว่ามีการพยาการณ์โรคดีกว่าการรักษาที่ล่าช้ากว่านั้น การวินิจฉัยโรคได้เร็ว และเริ่มให้การดูแลรักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด