วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ศิลปะในการเล่านิทาน


ศิลปะการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย โดย ครูตุ๊ก

ศิลปะการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

นิทานเป็นศิลปะบันเทิงที่ผู้คนทั่วโลกต้องการ ครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อ เพื่อสอนจริยธรรม ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้นิทานเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี

นิทานสามารถปลุกให้เด็กๆ มีจิตใจอ่อนโยน กล้าหาญ และมีความรู้สึกเสียใจในความทุกข์ของผู้อื่น รู้จักแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น

ประโยชน์ของการเล่านิทาน

1. เป็นสื่อเชื่อมโยงความรักจากผู้เล่านิทานไปสู่ผู้ฟัง หากผู้เล่า เล่าด้วยความตั้งใจ เต็มใจ

เล่าอย่างสนุกสนาน มีชีวิตชีวา และส่งผลถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

2. ฝึกให้เด็กรู้จักฟัง มีสมาธิ

3. เป็นการสร้างสรรค์ทางภาษาให้แก่เด็ก ทำให้เด็กใช้ภาษาได้ถูกต้อง รู้จักใช้คำศัพท์ต่างๆ ถ้าผู้เล่าระมัดระวังในการเลือกใช้ภาษา ใช้คำ ภาษาให้ถูกต้อง เด็กจะเกิดความสุนทรีย์

ในภาษา เพราะมีแบบอย่างที่ดี

4. ให้ความบันเทิงใจ ทำให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์ได้รับความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน

ทำให้ร่าเริง แจ่มใส สมวัย

5. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก นิทานก่อให้เกิดจินตนาการ คิดเสริมต่อเนื้อเรื่องในนิทาน โดยมีเด็กๆ เป็นตัวละครในเรื่อง ทำให้เด็กมีโลกส่วนตัวที่เขาจะคิดสร้างสรรค์อะไรก็ได้ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองตามมา

วัยอนุบาล อายุ 4 - 6 ปี

เด็กวัยนี้ เริ่มมีความคิดคำนึงในทางจินตนาการมากขึ้น ต้องการสร้างความอบอุ่นใจโดยการ

สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ เป็นระยะที่ความเจริญทางภาษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ฟังนิทานได้ครั้งละหลายๆ เรื่อง ชอบวาดรูปคน ดอกไม้ สามารถเข้าใจหนังสือ รูปภาพได้รวดเร็ว

ความสนใจและความต้องการฟังนิทาน วัยนี้เป็นวัยสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ต้นไ ดอกไม้ สัตว์ พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เด็กวัยเดียวกัน ท้องฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวต่างๆ รูปทรง เสียง ความสนใจสั้นมาก ประมาณ 5 - 10 นาที ชอบฟังคำคล้องจอง ฟังนิทานสั้นๆ ชอบนิทานประเภทสัตว์วิเศษ พูดได้ เรื่องนางฟ้า เทวดา โดยเฉพาะนิทานก่อนนอนชอบเรื่องที่แสดงความยุติธรรม จบเรื่องด้วยความสุข เรื่องความตื่นเต้นเล็กน้อย ตัวอย่างนิทาน เช่น หนูน้อยหมวกแดง คนขายหมวกแดง คนขายหมวกกับลิง เจ้าหญิงนิทรา ชินเดอเรลล่า นิทานอีสป เป็นต้น