วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ศิลปะในการเล่านิทาน


ศิลปะการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย โดย ครูตุ๊ก

ศิลปะการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

นิทานเป็นศิลปะบันเทิงที่ผู้คนทั่วโลกต้องการ ครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อ เพื่อสอนจริยธรรม ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้นิทานเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี

นิทานสามารถปลุกให้เด็กๆ มีจิตใจอ่อนโยน กล้าหาญ และมีความรู้สึกเสียใจในความทุกข์ของผู้อื่น รู้จักแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น

ประโยชน์ของการเล่านิทาน

1. เป็นสื่อเชื่อมโยงความรักจากผู้เล่านิทานไปสู่ผู้ฟัง หากผู้เล่า เล่าด้วยความตั้งใจ เต็มใจ

เล่าอย่างสนุกสนาน มีชีวิตชีวา และส่งผลถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

2. ฝึกให้เด็กรู้จักฟัง มีสมาธิ

3. เป็นการสร้างสรรค์ทางภาษาให้แก่เด็ก ทำให้เด็กใช้ภาษาได้ถูกต้อง รู้จักใช้คำศัพท์ต่างๆ ถ้าผู้เล่าระมัดระวังในการเลือกใช้ภาษา ใช้คำ ภาษาให้ถูกต้อง เด็กจะเกิดความสุนทรีย์

ในภาษา เพราะมีแบบอย่างที่ดี

4. ให้ความบันเทิงใจ ทำให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์ได้รับความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน

ทำให้ร่าเริง แจ่มใส สมวัย

5. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก นิทานก่อให้เกิดจินตนาการ คิดเสริมต่อเนื้อเรื่องในนิทาน โดยมีเด็กๆ เป็นตัวละครในเรื่อง ทำให้เด็กมีโลกส่วนตัวที่เขาจะคิดสร้างสรรค์อะไรก็ได้ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองตามมา

วัยอนุบาล อายุ 4 - 6 ปี

เด็กวัยนี้ เริ่มมีความคิดคำนึงในทางจินตนาการมากขึ้น ต้องการสร้างความอบอุ่นใจโดยการ

สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ เป็นระยะที่ความเจริญทางภาษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ฟังนิทานได้ครั้งละหลายๆ เรื่อง ชอบวาดรูปคน ดอกไม้ สามารถเข้าใจหนังสือ รูปภาพได้รวดเร็ว

ความสนใจและความต้องการฟังนิทาน วัยนี้เป็นวัยสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ต้นไ ดอกไม้ สัตว์ พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เด็กวัยเดียวกัน ท้องฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวต่างๆ รูปทรง เสียง ความสนใจสั้นมาก ประมาณ 5 - 10 นาที ชอบฟังคำคล้องจอง ฟังนิทานสั้นๆ ชอบนิทานประเภทสัตว์วิเศษ พูดได้ เรื่องนางฟ้า เทวดา โดยเฉพาะนิทานก่อนนอนชอบเรื่องที่แสดงความยุติธรรม จบเรื่องด้วยความสุข เรื่องความตื่นเต้นเล็กน้อย ตัวอย่างนิทาน เช่น หนูน้อยหมวกแดง คนขายหมวกแดง คนขายหมวกกับลิง เจ้าหญิงนิทรา ชินเดอเรลล่า นิทานอีสป เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ


พัฒนาการของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ


พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นตอน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา (สุชา จันทน์เอม ,2542 : 40 )
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนกระทั่งเข้าสู่อายุ 3-6 ปี ซึ่งมีลักษณะพิเศษกว่าประสบการณ์ในช่วงวัยอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านที่เกิดขึ้นอย่างผสมผสานในช่วงเวลาเดียวกันและสามารถสังเกตเห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจน ซึ่งอัตราในการเปลี่ยนแปลงของเด็กแต่ละคนอาจมีอัตราการเปลี่ยนแปลงช้า เร็วแตกต่างกัน แต่ส่วนมากแล้วพฤติกรรมก็มักจะเป็นไปตามแบบแผนและมีรูปแบบทิศทางเดียวกัน
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆ โดยยึดหลักของพัฒนาการมนุษย์ ดังนี้
1.1 องค์ประกอบของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ
1.1.1 วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึง สภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นถึงระดับการแสดงศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเด็กแต่ละคน ในระยะใดระยะหนึ่งที่กำหนดตามวิถีทางของธรรมชาติ และนำมาซึ่งความสามารถกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย ศักยภาพที่เด็กแสดงออกมาในเวลาอันสมควรนี้ หรือที่เรียกว่าระดับวุฒิภาวะ (Maturity) มีอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่กำเนิดและถูกกำหนดโดยพันธุกรรมด้วยเหตุนี้ระดับวุฒิภาวะของเด็กที่จะแสดงความสามารถอย่างเดียวกัน อาจแสดงออกมาในช่วงเวลาที่ต่างกันได้ เช่น โดยทั่วไปเด็กจะวาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ ประมาณอายุ 4 ปี เด็กบางคนอาจจะทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ และความสัมพันธ์ของมือและตา รวมทั้งทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง
1.1.2 การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ดีรับ หรือจากการปฏิบัติ อบรมสั่งสอน และการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความต้องการและความสนใจของเด็ก ทำให้ความสามารถต่างๆ ของเด็กถูกนำออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ทั้งนี้การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีขอบเขตจำกัดทั้งช่วงเวลา ความสนใจที่สั้นและเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบของการเล่น ที่เด็กได้ลงมือกระทำ ศึกษาค้นคว้า สำรวจสิ่งรอบตัวตามความพอใจของตนเองและเก็บสะสมเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล เช่น เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนังสือนิทานและของเล่น รวมทั้งมีผู้ปกครองที่เอาใจใส่เล่านิทานหรือแนะนำการอ่าน มักจะเรียนรู้การอ่านได้อย่างรวดเร็ว กว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้ กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสามารถบางอย่างอาจไม่เกิดขึ้นหรือเกิดช้ากว่าที่ควรได้ เช่น ความสามารถในการใช้ภาษา เด็กที่มีวุฒิภาวะในการพูด จะสามารถเปล่งเสียงพูดออกมาได้เอง แต่ถ้าไม่ได้รับการสอนภาษาพูดก็จะใช้ภาษาพูดไม่ได้เลย ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะในการพูด ถึงแม้ว่าจะได้รับการเคี่ยวเข็ญฝึกภาษาพูดมากสักเพียงใด ก็ไม่อาจพูดได้ ถ้าเด็กยังไม่พัฒนาถึงวุฒิภาวะนั้น จึงเห็นได้ว่าเด็กแต่ละคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามกำหนดเวลาเฉพาะของพัฒนาการนั้นๆ โดยธรรมชาติ อันก่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนของพัฒนาการ โดยมีสภาพแวดล้อมช่วยเสริมต่อพัฒนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วงเวลาที่เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่นี้ เรียกว่าระยะพอเหมาะ (Optimal Period) ลักษณะพฤติกรรมที่เด็กสามารถแสดงออกเมื่ออยู่ในขั้นพัฒนาการนั้นๆ เรียกว่า พัฒนาการตามวัย (Developmental Task) เด็กที่แสดงพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการได้พอเหมาะกับวัย จะถือว่ามีพัฒนาการสมวัย
1.2 แบบแผนของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามแบบแผนเดียวกัน คือ
1.2.1 แบบแผนของพัฒนาการ เด็กปฐมวัยทุกคนมีลำดับขั้นของพัฒนาการเหมือนกัน เปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีทิศทางก้าวหน้าโดยไม่ข้ามขั้น และไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พัฒนาการในขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต่อไปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ความสามารถในการวาดรูป เด็กเล็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อแขนและมือในการเคลื่อนไหวลากเส้นโยงไปมาอย่างไม่ทิศทาง จนสามารถบังคับกล้ามเนื้อนิ้วได้มากขึ้นในการควบคุมการลากเส้นอย่างมีทิศทางตามความต้องการและสามารถวาดรูปคล้ายของจริงได้ในที่สุด
1.2.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจน สามารถวัดได้ โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของรูปร่างและอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อเด็กอายุมากขึ้นและได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ขนาดของร่างกายก็จะขยายใหญ่ขึ้น สาวนสูงและน้ำหนักก็เพิ่มขึ้น รวมทั้งการแสดงออกถึงขีดความสามารถในด้านต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่น การเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้น ในช่วงปฐมวัยนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูและกล้ามเนื้อ ทำให้เด็กมีรูปร่างผอมและสูงขึ้น
1.2.3 การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกลไกในการทำงานภายในร่างกายที่ก่อให้เกิดความสามารถใหม่ๆ เช่น ก่อนที่จะใช้คำพูดสื่อความหมายคล้ายผู้ใหญ่ได้ จะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้ภาษา เช่น การฟัง การเปล่งเสียง การแยกความแตกต่างของเสียง การเลียนเสียง การเรียนรู้ความหมายและอื่นๆมาเป็นลำดับ
1.2.4 ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน พัฒนาการของเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคม สติปัญญา มีความสำคัญเสมอภาคและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้าม เด็กที่สุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะหนึ่ง อารมณ์หงุดหงิด มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
1.2.5 ลักษณะเด่นของพัฒนาการ แต่ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนของพัฒนาการ ลักษณะบางอย่างอาจพัฒนาเร็วกว่าลักษณะอื่นและสังเกตเห็นเด่นชัดได้ เช่น ในช่วงอายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มรับรู้และสังเกตความแตกต่างทางเพศ เมื่ออายุ 4 ปี จะช่างซักถาม สนใจเล่นร่วมกับผู้อื่น พออายุ 5 ปี จะชอบความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ลักษณะเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เมื่อเด็กอายุมากขึ้นก็จะพัฒนาไปตามวุฒิภาวะและจากมวลประสบการณ์ทั้งหลายที่ได้รับ
1.2.6 ความคาดหวังของพัฒนาการ พัฒนาการมนุษย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีขั้นตอนและได้ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอน จึงสามารถทำนาย คาดหวังความสามารถและพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กอย่างคร่าวๆ ได้ ทั้งนี้เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวุฒิภาวะและความพร้อม พัฒนาการก็สามารถดำเนินไปด้วยดีสมวัย หากมีอุปสรรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงใดของพัฒนาการ ก็ย่อมส่งผลต่อแบบแผนพัฒนาการขั้นต่อไปให้หยุดชะงักเบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติและอาจส่งผลระยะยาวไปจนตลอดชีวิตได้
1.2.7 ความเสื่อมของพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มีทั้งการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือความสามารถใหม่ๆ และความเสื่อมหรือการสูญเสียคุณลักษณะหรือความสามารถเดิมบางอย่าง เช่น เด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนจึงเกิดฟันแท้เข้ามาแทนที่ เด็กจะพูดเสียงอ้อแอ้ที่ฟังไม่รู้เรื่องก่อนจึงพูดชัดเจนขึ้นมาในช่วงบั้นปลายของชีวิต การเสื่อมมีมากกว่าการพัฒนา
1.3 ลักษณะของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกด้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้นและมีทิศทางการพัฒนาที่แน่นอน คือ
1.3.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางร่างกายเริ่มต้นจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalous – Caudal Development) และจากแกนกลางไปสู่ส่วนข้าง (Proximal-Distal Development) สำหรับความสามารถทางการเคลื่อนไหวร่างกายจะพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวทั่วไป ไปสู่การเคลื่อนไหวแบบเจาะจง
1.3.2 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จะพัฒนาจากการรับรู้ความรู้สึกทั่วไปไปสู่ความรู้สึกที่ละเอียดลึกซึ้ง จากการรับรู้ความรู้สึกของตนเองไปสู่การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
1.3.3 พัฒนาการด้านสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น จะพัฒนาจากความผูกพันใกล้ชิด พึ่งพาพ่อแม่ในครอบครัว ไปสู่การพึ่งตนเอง และการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
1.3.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการรู้คิด จะพัฒนาจากการรับรู้ด้วยประสามสัมผัสและการรู้คิดเชิงรูปธรรม (Concrete Thought) ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Thought) แล้วจึงรู้จักคิดเป็นนามธรรม (Abstract Thought) รวมทั้งความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric Thought) ไปสู่การใช้ความคิดที่มีเหตุผล (Reasoning)
1.4 อัตราของพัฒนาการ ขีดความสามารถตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละคนจะเร็วหรือช้ากว่าอัตราที่เป็นเกณฑ์ปกติได้และมีความแตกต่างกัน คือ
1.4.1 ความแตกต่างภายในบุคคล (Intra-Individual Differences) ธรรมชาติได้กำหนดให้พัฒนาการของระบบและส่วนต่างๆของร่างกายภายในตัวเด็กแต่ละคน มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันในช่วงอายุหนึ่งๆ ของบุคคลนั้นเช่นกัน ในช่วงวัยทารก พัฒนาการทางร่างกายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาในช่วงปฐมวัย พัฒนาการของสมองอยู่ในอัตราสูงกว่าการเจริญเติบโตของอวัยวะอื่นๆ เป็นต้น
1.4.2 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Inter-Individual Differences)แม้ว่าเด็กทุกคนจะมีแบบแผนของพัฒนาการเหมือนกันและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน แต่ความสามารถที่จะพัฒนาให้ไปถึงจุดเดียวกันเมื่ออายุเท่ากัน อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม จะเป็นตัวกระตุ้นหรือขัดขวางศักยภาพ การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน
จากความรู้ทางด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งหากบุคคลดังกล่าวมีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กก็จะเป็นข้อมูลความรู้ในการนำไปใช้เพื่อการพัฒนา ตลอดจนประยุกต์ความรู้เพื่อส่งเสริม สนับสนุนด้านการพัฒนาเด็กต่อไป

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)

สำหรับเด็กปฐมวัย


            ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ

            สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

            การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง  2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ


            การทำงานของสมอง

            สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

            สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1  แสนล้านเซลล์  ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ  เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป  ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน  แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป  ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง

            จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ  ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ  เกิดการคิด  กระบวนการคิด  และความคิดขึ้นในสมอง  หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น  ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร  ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น  ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง  สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

            สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน  เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ  และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น  หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง  เช่น  การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา  สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี  และรูปร่าง  สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้  จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร  เป็นอย่างไร  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้  การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน  มีหลายชั้นหลายระดับ  และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด  เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว  ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด  ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม  สามารถคิดค้นหาความหมาย  คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย

            นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า  ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้  เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว  เครียด  บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข  คับข้องใจ  ครูอารมณ์เสีย  ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี  เดี๋ยวร้าย  ครูดุ  ขณะที่เด็กเกิดความเครียด  สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง  ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด  เรียกว่า  คอร์ติโซล (Cortisol)  จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด  ความฉลาด  กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง  เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา  หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้  ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้  แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

 

การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

            การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา  สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์  ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน  ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน

            หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้  

            1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย  ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ  หรือพวกนักกีฬาต่างๆ

            2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน  เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ  ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ  เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน  เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน  อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น  ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น   

            3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  เรียนรู้ขนาด ปริมาณ  การเพิ่มขึ้นลดลง  การใช้ตัวเลข 

            4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง  เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ  ขนาดตำแหน่ง  และการมองเห็น  สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว  เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส  สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

            5. ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ  ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี  ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี

            6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น  เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา

            7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม 

            8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ


               กระบวนการจัดการเรียนรู้

            เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ  ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ  เรียนรู้แบบปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกระทำกับวัตถุด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ  เด็กเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  เด็กได้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลุ่มเล็กๆ  และเป็นรายบุคคล  การให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำให้เด็กได้ตรวจสอบความคิดของตน  แต่เมื่อมีปัญหาเด็กต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่  ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง  มีการเชื่อมโยงหลากหลายสาขาวิชา  บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการและให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม


ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

1.      ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

     ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน

               การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ

                    

                       ฉันฟัง  ฉันลืม

                        ฉันเห็น  ฉันจำได้

                        ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ


            2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด

          3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา



สารอาหารบำรุงสมอง

           อาหาร 5 หมู่มีส่วนบำรุงสมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะทารกในครรภ์  อาหารจะเข้าไปช่วยสร้างเซลล์สมอง  เมื่อคลอดออกมาแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เช่นเดิม  เมื่อลูกโตขึ้นปริมาณของน้ำนมของแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องให้อาหารเสริม  ถ้าขาดสารอาหารเซลล์สมองจะเติบโตช้าและมีจำนวนน้อยลง  เส้นใยประสาทมีการสร้างไม่ต่อเนื่อง

           ตับและไข่  เด็กปฐมวัยต้องการธาตุเหล็กจากตับหรือไข่ ถ้าเด็กไม่กินตับหรือไข่  และหรือกินในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง

           ปลา  สารจากเนื้อปลาและน้ำมันปลามีส่วยสำคัญต่อการพัฒนาความจำและการเรียนรู้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เรื่องราวที่เรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง อธิบายได้ว่าทำให้เด็กเข้าเรื่องที่เรียนรู้ได้ง่ายและเร็ว

ควรให้เด็กรับประทานเนื้อปลาทุกวันหรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเลเช่น ปลาทู  ปลากระพง และปลาตาเดียว เป็นต้น

           ผักและผลไม้  ผักที่มีสีเขียว  เหลืองหรือแดง  อาหารเหล่านี้ให้วิตามินซี เพื่อนำไปสร้างเซลล์เยื่อบุต่างๆทั่วทั้งร่างกายและวิตามินเอทำให้เซลล์ประสาทตาทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการพัฒนาสมอง

           วิตามินและเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของเชลล์ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ถ้าขาดจะทำให้เชลล์สมองมีการทำงานลดลงและเชื่องช้าจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก

           ปลา ไก่ หมู นมและอาหารทะเล อาหารเหล่านี้มีแร่ธาตุต่างๆเช่น เหล็ก ทองแดง แมกนีเซี่ยม  สังกะสี  ฟอสฟอรัสและไอโอดีน  มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง

           ผักตระกูลกะหล่ำ(ทำให้สุก) ข้าวสาลี และน้ำนมแม่ สามารถไปยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจจะทำลายเซลล์สมองได้

           การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็ก ขึ้นกับ อาหาร  พันธุกรรม  สิ่งแวดล้อมต่างๆ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ  ให้เด็กมีโอกาสคิดในหลากหลายแบบเช่น คิดแสวงหาความรู้  คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดกว้าง คิดไกล  คิดเชิงอนาคต  คิดนอกกรอบ  ผู้ปกครองหรือครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขในขณะที่ฝึก  สมองจึงจะพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  


               เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล

               ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย   ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย 

               รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก  แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก  นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 2 ปี

 


แผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (พื้นผิวสร้างสรรค์)

ความคิดรวบยอด
เด็กรู้จักลักษณะของพื้นผิวที่มีลักษณะที่ต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2.เด็กสามารถอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3.เด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. เด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม
เนื้อหา
เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
กิจกรรม
1. ครูสนทนาทักทายกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2.ครูสนทนากับเด็กและให้เด็กสัมผัสแก้มเพื่อรู้จักพื้นผิวที่นิ่ม และสัมผัสที่ฟันเพื่อรู้จักพื้นผิวที่แข็ง
: เมื่อเด็ก ๆ จับที่แก้มเด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
: เมื่อเด็ก ๆ จับที่ฟันเด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
2. ครูนำพื้นผิวสัมผัสซ่อนไว้ในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็นแล้วให้เด็กคลำพื้นผิวภายในกล่องแล้วให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร
3. ตรูให้เด็กบอกลักษณะของพื้นผิวที่เด็กได้สัมผัส
: เด็ก ๆ ค่ะสิ่งที่เด็กได้สัมผัสนั้นมีลักษณะอย่างไร
4. ครูเฉลยพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่อง
5. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวชนิดต่าง ๆ
: พื้นผิวที่เด็ก ๆ ได้สัมผัสมีลักษณะแตกต่างกันไหม
: พื้นผิวแบบนี้เด็กเคยพบเห็นที่ไหนบ้าง
: มีพื้นผิวอะไรบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ที่เด็ก ๆ เคยเห็น
สื่อ
1.กล่องอะไรเอ่ย
2.กระดาษ
3.สี
4.ลูกมะนาว
5.ลูกมะกรูด
ประเมินผล
1.สังเกตเด็กบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2สังเกตเด็กอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3สังเกตเด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. สังเกตเด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

ปรับแผน
1.ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับเด็กก่อนการทำกิจกรรม
2. ครูจะต้องใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้เด็กสนใจ ไม่ใช่เสียงเรียบจนเกินไป
3.สื่อที่นำมาต้องอยู่ในระดับสายตาเด็กไม่อยู่ต่ำจนเกินไปเพราะทำให้เด็กมองไม่เห็น
4.ต้องให้เด็กได้เล่าสิ่งที่เด็กวาดรูป
5.ต้องเตรียมความพร้อมมากกว่านี้ก่อนทำการสอน6. ฝึกการเก็บเด็กเพราะยังเก็บเด็กไม่ค่อยอยู่

แผนการสอนกิจกรรมกลางแจ้ง (พื้นผิวสร้างสรรค์)

จุดประสงค์
1.เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.เด็กสามารถใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.เด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรมได้
4.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
5.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนดได้
6.เด็กสามารถจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกันได้
7.เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมได้

เนื้อหา
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้ คือ รอยเท้า และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมในการทำกิจกรรมโดยเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม1. ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็กฟัง
โดยกิจกรรมมี 3 ด่าน คือ
ด่านที่ 1 ครูให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวรอยเท้ารอยเท้า ที่ครูติดไว้ที่พื้น
ด่านที่ 2 ครูให้เด็กนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
ด่านที่ 3 ครูให้เด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่โจทย์ก่อนจากนั้น ครูจะนำคำตอบใส่ไว้ที่ ถุงผ้าแล้วให้เด็กคลำ แล้วนำคำตอบมาติดไว้คู่กับแผ่นโจทย์ ที่ถูกต้อง เมื่อกลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้นำกล่องมาต่อกัน
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
3. เด็กเล่นเกมด้วยตนเอง
4. ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเตือนก่อนหมดเวลา
5. ครูและเด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อ1. สนาม
2. กล่องพื้นผิว
3. รูปร่างพื้นผิว รอยเท้า
4. ถุงผ้า

ประเมินผล
1.สังเกตเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.สังเกตเด็กใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.สังเกตเด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรม
4.สังเกตเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
5.สังเกตเด็กทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนด
6.สังเกตเด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน
7.สังเกตเด็กทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ควรเพิ่มการทรงตัวโดยให้มีรอยมือ
2. อธิบายขั้นตอนให้ชัดเจนเพราะเด็กยังเล็ก
3.สื่อต้องเพิ่มความแข็งแรง ใช้วัสดุที่ติดแน่นกว่านี้
4.กระตุ้นให้กิจกรรมมีความน่าสนใจมากกว่านี้
5.ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดกิจกรรม
คู่มือการสร้างสื่อ

วัสดุ/อุปกรณ์1. กระดาษแข็งสีต่าง ๆ 6 แผ่น
2. วัสดุพื้นผิวที่ไม่ซ้ำกัน
3. สังกะสี
4. แม่เหล็ก
5. หนามเตย
6. ดินสอ 1 แท่ง
7. กรรไกร 1 ด้าม
8. กาวยู่ฮู 3 หลอด
9. ไม้บรรทัดขนาด 12 นิ้ว 1 อัน
10. คัตเตอร์ 1 อัน
11.สติกเกอร์สีขาว 1 แผ่น
12. ผ้ามัน 1 ผืน
13. เข็ม ด้าย
วิธีทำกล่องพื้นผิวสร้างสรรค์1. ตัดกระดาษแข็งทำเป็นกล่องสีเหลี่ยมลูกเต๋าโดยให้มีขนาดที่เท่ากันทุกด้าน มีขนาดด้านละ 6 เซนติเมตร ตัดให้เหมือนกันทั้ง 6 กล่องตามสีของกระดาษ
2. ประกอบกล่องโดยใช้ หนามเตยยึดตามมุมแต่ละด้านของกล่องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ
กล่อง
3. นำสังกะสี ติดที่ด้านล่างของแต่ละด้านของกล่องแล้วนำสติกเกอร์สีขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมแล้วติดทับบนสังกะสีเพื่อเป็นที่ติดแผ่นคำตอบ ติดสังกะสีทุก ๆ ด้านของกล่อง

วิธีการทำโจทย์พื้นผิวสร้างสรรค์
1. หาวัสดุที่มีพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีคุณลักษณะ นุ่ม แข็ง เรียบ และขรุขระ เช่น กระดาษทราย เศษผ้าที่มีผิวต่างกัน ปลอกหุ้มผลไม้ ไม้ เป็นต้น
2. นำพื้นผิวมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อทำเป็นแผ่นโจทย์และแผ่นคำตอบ โดยทำอย่างละ 2 ชุด
3. นำแผ่นโจทย์มาติดที่ด้านบนของกล่องเหนือแผ่นสังกะสี ติดทุกด้านแต่ แต่ละด้านพื้นผิวไม่เหมือนกัน
4. ใช่แม่เหล็กติดที่ด้านหลังของแผ่นคำตอบ
5. นำผ้ามันมาตัดและเย็บเป็นถุงที่มีที่หูรูดสำหรับใส่ แผ่นคำตอบ
คู่มือการใช้สื่อ
ชื่อสื่อ พื้นผิวสร้างสรรค์เกมพื้นผิวสร้างสรรค์เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องพื้นผิวสัมผัสการเปรียบเทียบพื้นผิวที่แตกต่างกัน รวมถึงพัฒนาพัฒนาการทั้ง 4 ด้านด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของเด็กส่งเสริมทางด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กด้วยจุดประสงค์เพื่อให้เด็กรู้จักพื้นผิวที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ผิวเรียบ ขรุขระ นิ่ม และแข็ง

กิจกรรมเด็ก1. เด็กแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
2. เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวของรอยเท้า
3. เด็กนั่งแล้วกระดึ๊บถอยหลังไปข้างหน้า
4. เด็กสัมผัสพื้นผิวจากแผ่นโจทย์ที่ติดอยู่ที่กล่อง
5. เด็กสัมผัสพื้นผิวที่อยู่ในถุงผ้าแล้วนำมามาติดให้ถูกต้องตรงกับแผ่นโจทย์นั้น
6. ให้ครูตรวจสอบความเรียบร้อย


กิจกรรมครู1. ครูอธิบายสื่ออุปกรณ์ที่ครูนำมาให้เด็กฟัง
2. ครูให้เด็กรู้จักพื้นผิวในลักษณะต่าง ๆจาก สื่อที่ครูนำมา
3. ครูอธิบายกติกาการเล่นให้เด็กเข้าใจก่อนการเล่น
4. ครูคอยดูแลความปลอดภัยในขณะที่เด็กทำกิจกรรม
5. ครูคอยตรวจสอบความถูกต้องเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว
กิจกรรมเสริมกิจกรรมที่ 1 สังเกตฉันหน่อย
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. เบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
2. ครูแจกแผ่นพื้นผิวที่ไม่ซ้ำกันให้แต่ละกลุ่ม
3. เด็กแต่ละกลุ่มสังเกตลักษณะพื้นผิวที่ได้รับ
4. ให้เด็กวิ่งไปหยิบแผ่นภาพของสิ่งของที่มีลักษณะเหมือนกับพื้นผิวของกลุ่มตนเอง
5. กลุ่มไหนหยิบได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กรู้จักการจัดกลุ่มของสิ่งของกับพื้นผิวที่ มีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
ระยะเวลาในการเล่น 30 นาที


กิจกรรมที่ 2 ต่อได้ต่อ
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. เบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม
2. ครูแจกกล่องพื้นผิวให้กับเด็ก
3. เด็กช่วยกันต่อกล่องขึ้นไปให้สูงที่สุดกลุ่มไหนต่อเสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับเด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรม รู้จักใช้สมาธิและการจำกัดระยะเวลาในการเล่น 30 นาที

กิจกรรมที่ 3 พื้นผิวช่วยทรงตัว
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม
2. ครูติดพื้นผิวไว้ที่พื้น
3. ให้เด็กเคลื่อนไหวทรงตัวบนพื้นผิวที่ครูติดไว้ โดยให้สัมผัสทั้งเท้า และมือ เคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
4. กลุ่มไหนไปถึงจุดหมายก่อนเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับเด็กได้สัมผัสพื้นผิว และได้เคลื่อนไหวร่างกาย
ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมที่ 4 ฉันอยู่ตรงไหน
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม
2. นำคำและสัญญาลักษณ์ติดไว้ คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ โดยติดไว้ที่กระเป๋าผนัง
3. ให้เด็กสังเกตลักษณะของพื้นผิวที่มีอยู่ในกลุ่มว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
4. ให้เด็กนำพื้นผิวไปติดให้ตรงกับคำและสัญญลักษณ์บนกระเป๋าผนังให้ถูกต้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับเด็กได้ทักษะในการสังเกต จัดกลุ่มของพื้นผิวที่แตกต่าง
ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมที่ 5 สัมผัสตรงจุด
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. ครูให้เด็กสังเกตสิ่งต่าง ๆ ภายในห้อง
2. ครูชูป้ายลักษณะของพื้นผิว
3. ให้เด็กวิ่งไปสัมผัสสิ่งของที่อยู่ภายในห้องโดยสิ่งของนั้นจะต้องมีพื้นผิว เหมือนกับป้ายที่
ครูชูขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ทักษะในการสังเกตสิ่งต่าง รู้จักระยะของการเคลื่อนที่ ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที
กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ความคิดรวบยอด

เด็กรู้จักลักษณะของพื้นผิวที่มีลักษณะที่ต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2.เด็กสามารถอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3.เด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. เด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

เนื้อหาเด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1.ครูสนทนาทักทายกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2. ครูสนทนากับเด็กแล้วให้เด็กสัมผัสแก้มเพื่อรู้จักกับพื้นผิวที่นิ่ม และสัมผัสฟันเพื่อรู้จักพื้นผิวที่แข็ง
: เมือเด็ก ๆ จับที่แก้มเด็ก ๆรู้สึกอย่างไร
: เมือเด็ก ๆ จับที่ฟันเด็ก ๆรู้สึกอย่างไร
3. ครูนำพื้นผิวสัมผัสซ่อนไว้ในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็นแล้วให้เด็กคลำพื้นผิวภายในกล่องแล้วให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร
: เด็กค่ะสิ่งที่เด็ก ได้สัมผัสนั้นมีลักษณะอย่างไร
4. ครูเฉลยพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่อง
5. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวชนิดต่าง ๆ
: พื้นผิวที่เด็ก ๆ ได้สัมผัสมีลักษณะแตกต่างกันไหม
: พื้นผิวแบบนี้เด็กเคยพบเห็นที่ไหนบ้าง
: มีพื้นผิวอะไรบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ที่เด็ก ๆ เคย เห็น
สื่อ-กล่องอะไรเอ่ย
- กระดาษ
-สี
- ลูกมะนาว
-ลูกมะกรูด


ประเมินผล
1.สังเกตเด็กบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2 สังเกตเด็กอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3. สังเกตเด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นใน
ชีวิตประจำวันได้
4. สังเกตเด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้เด็กสนใจ
2. สื่อที่นำมาต้องวางในระดับสายตาให้เด็กเห็นได้ชัดเจน

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และ
การนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.เด็กสามารถใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.เด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรมได้
4.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
5.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนดได้
6.เด็กสามารถจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกันได้
7.เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมได้

เนื้อหา
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้ คือ รอยเท้า และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมในการทำกิจกรรมโดยเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม1.. ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็กฟัง โดยกิจกรรมมี 3 ด่าน คือ
ด่านที่ 1 ครูให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวรอยเท้ารอยเท้า ที่ครูติดไว้ที่พื้น
ด่านที่ 2 ครูให้เด็กนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
ด่านที่ 3 ครูให้เด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่โจทย์
ก่อน จากนั้น ครูจะนำคำตอบใส่ไว้ที่ ถุงผ้าแล้วให้เด็กคลำ แล้วนำคำตอบ มาติดไว้คู่
กับ แผ่นโจทย์ ที่ถูกต้อง เมื่อกลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้นำกล่องมาต่อกัน
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
3. เด็กเล่นเกมด้วยตนเอง
4. ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเตือนก่อนหมดเวลา
5. ครูและเด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นและทำความ สะอาดร่างกาย

สื่อ1. สนาม
2. กล่องพื้นผิว
3. รูปร่างพื้นผิว รอยเท้า
4. ถุงผ้า

ประเมินผล
1.สังเกตเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการ เดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้
และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอย หลัง
2.สังเกตเด็กใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบ พื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.สังเกตเด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำ กิจกรรม
4.สังเกตเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
5.สังเกตเด็กทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนด
6.สังเกตเด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน
7.สังเกตเด็กทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ครูต้องกระตุ้นให้เด็กสนใจมากกว่านี้
2. ในการทรงตัวควรเพิ่มรอยมือ เด็กจะได้เคลื่อนไหวทั้ง
ตัว
3. สื่อต้องแข็งแรงมากกว่านี้ ใช้วัสดุที่ติดแน่นกว่านี้

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดเตรียมอาหารที่จะสามารถให้ประโยชน์แก่เด็กได้อย่างเต็มที่ โดยใช้งบประมาณที่เหมาะสม ในการจัดการที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยยึดหลัก
1. การจัดอาหารที่มีประโยชน์
2. เป็นอาหารที่มีคุณค่า
3. การจัดอาหารที่ประหยัด



นอกจากนี้ควรศึกษาและเข้าใจในสาระสำคัญใน ด้าน การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษา คือ อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณ ค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวกของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียว ที่มี ความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการ และเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว ซึ่งจะอยู่ ในลักษณะอาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัด เวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก
ข้อดี ของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสีย เวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่อง มือ เครื่องใช้น้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากิน โดยยังคงคุณค่า (ตัวอย่างการจัดอาหารหลักที่เป็นอาหารจานเดียว)
2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่มใช้สำหรับ เสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเช้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อ เสริมอันเกิดจากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไป ก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่ายหาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคู ไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะ ต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้ วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในแต่ ละวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็น ซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ที่ไม่มี คุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจากอาหารเหล่านี้ เมื่อ กินสะสมเป็นเวลานานๆ (ตัวอย่างการจัดอาหารว่างหรืออาหารเสริม)
3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหาร หลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือก ขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย อาทิ เช่น ของหวาน ระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือก ถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดใน ถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก (ตัวอย่างการจัดอาหารหลักที่เป็นอาหารหวาน)