วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ


พัฒนาการของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ


พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นตอน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา (สุชา จันทน์เอม ,2542 : 40 )
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนกระทั่งเข้าสู่อายุ 3-6 ปี ซึ่งมีลักษณะพิเศษกว่าประสบการณ์ในช่วงวัยอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านที่เกิดขึ้นอย่างผสมผสานในช่วงเวลาเดียวกันและสามารถสังเกตเห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจน ซึ่งอัตราในการเปลี่ยนแปลงของเด็กแต่ละคนอาจมีอัตราการเปลี่ยนแปลงช้า เร็วแตกต่างกัน แต่ส่วนมากแล้วพฤติกรรมก็มักจะเป็นไปตามแบบแผนและมีรูปแบบทิศทางเดียวกัน
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆ โดยยึดหลักของพัฒนาการมนุษย์ ดังนี้
1.1 องค์ประกอบของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ
1.1.1 วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึง สภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นถึงระดับการแสดงศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเด็กแต่ละคน ในระยะใดระยะหนึ่งที่กำหนดตามวิถีทางของธรรมชาติ และนำมาซึ่งความสามารถกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย ศักยภาพที่เด็กแสดงออกมาในเวลาอันสมควรนี้ หรือที่เรียกว่าระดับวุฒิภาวะ (Maturity) มีอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่กำเนิดและถูกกำหนดโดยพันธุกรรมด้วยเหตุนี้ระดับวุฒิภาวะของเด็กที่จะแสดงความสามารถอย่างเดียวกัน อาจแสดงออกมาในช่วงเวลาที่ต่างกันได้ เช่น โดยทั่วไปเด็กจะวาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ ประมาณอายุ 4 ปี เด็กบางคนอาจจะทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ และความสัมพันธ์ของมือและตา รวมทั้งทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง
1.1.2 การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ดีรับ หรือจากการปฏิบัติ อบรมสั่งสอน และการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความต้องการและความสนใจของเด็ก ทำให้ความสามารถต่างๆ ของเด็กถูกนำออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ทั้งนี้การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีขอบเขตจำกัดทั้งช่วงเวลา ความสนใจที่สั้นและเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบของการเล่น ที่เด็กได้ลงมือกระทำ ศึกษาค้นคว้า สำรวจสิ่งรอบตัวตามความพอใจของตนเองและเก็บสะสมเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล เช่น เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนังสือนิทานและของเล่น รวมทั้งมีผู้ปกครองที่เอาใจใส่เล่านิทานหรือแนะนำการอ่าน มักจะเรียนรู้การอ่านได้อย่างรวดเร็ว กว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้ กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสามารถบางอย่างอาจไม่เกิดขึ้นหรือเกิดช้ากว่าที่ควรได้ เช่น ความสามารถในการใช้ภาษา เด็กที่มีวุฒิภาวะในการพูด จะสามารถเปล่งเสียงพูดออกมาได้เอง แต่ถ้าไม่ได้รับการสอนภาษาพูดก็จะใช้ภาษาพูดไม่ได้เลย ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะในการพูด ถึงแม้ว่าจะได้รับการเคี่ยวเข็ญฝึกภาษาพูดมากสักเพียงใด ก็ไม่อาจพูดได้ ถ้าเด็กยังไม่พัฒนาถึงวุฒิภาวะนั้น จึงเห็นได้ว่าเด็กแต่ละคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามกำหนดเวลาเฉพาะของพัฒนาการนั้นๆ โดยธรรมชาติ อันก่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนของพัฒนาการ โดยมีสภาพแวดล้อมช่วยเสริมต่อพัฒนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วงเวลาที่เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่นี้ เรียกว่าระยะพอเหมาะ (Optimal Period) ลักษณะพฤติกรรมที่เด็กสามารถแสดงออกเมื่ออยู่ในขั้นพัฒนาการนั้นๆ เรียกว่า พัฒนาการตามวัย (Developmental Task) เด็กที่แสดงพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการได้พอเหมาะกับวัย จะถือว่ามีพัฒนาการสมวัย
1.2 แบบแผนของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามแบบแผนเดียวกัน คือ
1.2.1 แบบแผนของพัฒนาการ เด็กปฐมวัยทุกคนมีลำดับขั้นของพัฒนาการเหมือนกัน เปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีทิศทางก้าวหน้าโดยไม่ข้ามขั้น และไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พัฒนาการในขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต่อไปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ความสามารถในการวาดรูป เด็กเล็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อแขนและมือในการเคลื่อนไหวลากเส้นโยงไปมาอย่างไม่ทิศทาง จนสามารถบังคับกล้ามเนื้อนิ้วได้มากขึ้นในการควบคุมการลากเส้นอย่างมีทิศทางตามความต้องการและสามารถวาดรูปคล้ายของจริงได้ในที่สุด
1.2.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจน สามารถวัดได้ โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของรูปร่างและอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อเด็กอายุมากขึ้นและได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ขนาดของร่างกายก็จะขยายใหญ่ขึ้น สาวนสูงและน้ำหนักก็เพิ่มขึ้น รวมทั้งการแสดงออกถึงขีดความสามารถในด้านต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่น การเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้น ในช่วงปฐมวัยนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูและกล้ามเนื้อ ทำให้เด็กมีรูปร่างผอมและสูงขึ้น
1.2.3 การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกลไกในการทำงานภายในร่างกายที่ก่อให้เกิดความสามารถใหม่ๆ เช่น ก่อนที่จะใช้คำพูดสื่อความหมายคล้ายผู้ใหญ่ได้ จะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้ภาษา เช่น การฟัง การเปล่งเสียง การแยกความแตกต่างของเสียง การเลียนเสียง การเรียนรู้ความหมายและอื่นๆมาเป็นลำดับ
1.2.4 ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน พัฒนาการของเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคม สติปัญญา มีความสำคัญเสมอภาคและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้าม เด็กที่สุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะหนึ่ง อารมณ์หงุดหงิด มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
1.2.5 ลักษณะเด่นของพัฒนาการ แต่ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนของพัฒนาการ ลักษณะบางอย่างอาจพัฒนาเร็วกว่าลักษณะอื่นและสังเกตเห็นเด่นชัดได้ เช่น ในช่วงอายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มรับรู้และสังเกตความแตกต่างทางเพศ เมื่ออายุ 4 ปี จะช่างซักถาม สนใจเล่นร่วมกับผู้อื่น พออายุ 5 ปี จะชอบความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ลักษณะเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เมื่อเด็กอายุมากขึ้นก็จะพัฒนาไปตามวุฒิภาวะและจากมวลประสบการณ์ทั้งหลายที่ได้รับ
1.2.6 ความคาดหวังของพัฒนาการ พัฒนาการมนุษย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีขั้นตอนและได้ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอน จึงสามารถทำนาย คาดหวังความสามารถและพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กอย่างคร่าวๆ ได้ ทั้งนี้เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวุฒิภาวะและความพร้อม พัฒนาการก็สามารถดำเนินไปด้วยดีสมวัย หากมีอุปสรรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงใดของพัฒนาการ ก็ย่อมส่งผลต่อแบบแผนพัฒนาการขั้นต่อไปให้หยุดชะงักเบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติและอาจส่งผลระยะยาวไปจนตลอดชีวิตได้
1.2.7 ความเสื่อมของพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มีทั้งการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือความสามารถใหม่ๆ และความเสื่อมหรือการสูญเสียคุณลักษณะหรือความสามารถเดิมบางอย่าง เช่น เด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนจึงเกิดฟันแท้เข้ามาแทนที่ เด็กจะพูดเสียงอ้อแอ้ที่ฟังไม่รู้เรื่องก่อนจึงพูดชัดเจนขึ้นมาในช่วงบั้นปลายของชีวิต การเสื่อมมีมากกว่าการพัฒนา
1.3 ลักษณะของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกด้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้นและมีทิศทางการพัฒนาที่แน่นอน คือ
1.3.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางร่างกายเริ่มต้นจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalous – Caudal Development) และจากแกนกลางไปสู่ส่วนข้าง (Proximal-Distal Development) สำหรับความสามารถทางการเคลื่อนไหวร่างกายจะพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวทั่วไป ไปสู่การเคลื่อนไหวแบบเจาะจง
1.3.2 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จะพัฒนาจากการรับรู้ความรู้สึกทั่วไปไปสู่ความรู้สึกที่ละเอียดลึกซึ้ง จากการรับรู้ความรู้สึกของตนเองไปสู่การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
1.3.3 พัฒนาการด้านสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น จะพัฒนาจากความผูกพันใกล้ชิด พึ่งพาพ่อแม่ในครอบครัว ไปสู่การพึ่งตนเอง และการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
1.3.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการรู้คิด จะพัฒนาจากการรับรู้ด้วยประสามสัมผัสและการรู้คิดเชิงรูปธรรม (Concrete Thought) ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Thought) แล้วจึงรู้จักคิดเป็นนามธรรม (Abstract Thought) รวมทั้งความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric Thought) ไปสู่การใช้ความคิดที่มีเหตุผล (Reasoning)
1.4 อัตราของพัฒนาการ ขีดความสามารถตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละคนจะเร็วหรือช้ากว่าอัตราที่เป็นเกณฑ์ปกติได้และมีความแตกต่างกัน คือ
1.4.1 ความแตกต่างภายในบุคคล (Intra-Individual Differences) ธรรมชาติได้กำหนดให้พัฒนาการของระบบและส่วนต่างๆของร่างกายภายในตัวเด็กแต่ละคน มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันในช่วงอายุหนึ่งๆ ของบุคคลนั้นเช่นกัน ในช่วงวัยทารก พัฒนาการทางร่างกายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาในช่วงปฐมวัย พัฒนาการของสมองอยู่ในอัตราสูงกว่าการเจริญเติบโตของอวัยวะอื่นๆ เป็นต้น
1.4.2 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Inter-Individual Differences)แม้ว่าเด็กทุกคนจะมีแบบแผนของพัฒนาการเหมือนกันและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน แต่ความสามารถที่จะพัฒนาให้ไปถึงจุดเดียวกันเมื่ออายุเท่ากัน อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม จะเป็นตัวกระตุ้นหรือขัดขวางศักยภาพ การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน
จากความรู้ทางด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งหากบุคคลดังกล่าวมีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กก็จะเป็นข้อมูลความรู้ในการนำไปใช้เพื่อการพัฒนา ตลอดจนประยุกต์ความรู้เพื่อส่งเสริม สนับสนุนด้านการพัฒนาเด็กต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น