วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษา คือ อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณ ค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวกของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียว ที่มี ความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการ และเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว ซึ่งจะอยู่ ในลักษณะอาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัด เวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก
ข้อดี ของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสีย เวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่อง มือ เครื่องใช้น้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากิน โดยยังคงคุณค่า (ตัวอย่างการจัดอาหารหลักที่เป็นอาหารจานเดียว)
2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่มใช้สำหรับ เสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเช้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อ เสริมอันเกิดจากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไป ก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่ายหาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคู ไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะ ต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้ วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในแต่ ละวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็น ซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ที่ไม่มี คุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจากอาหารเหล่านี้ เมื่อ กินสะสมเป็นเวลานานๆ (ตัวอย่างการจัดอาหารว่างหรืออาหารเสริม)
3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหาร หลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือก ขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย อาทิ เช่น ของหวาน ระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือก ถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดใน ถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก (ตัวอย่างการจัดอาหารหลักที่เป็นอาหาร

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี
ว่ากันว่าเด็กที่ได้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จะทําให้คลอดออกมาแล้วเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้ว เพลงและเสียงดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กในทุกช่วงวัยทั้งตอนอยู่ในท้องแม่หรือเมื่อคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จึงควรเลือกดนตรีที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อยด้วยค่ะ
 
เสียงดนตรีตามวัย
เสียงดนตรีที่ลูกน้อยควรได้รับฟังในแต่ละช่วงวัยนั้น ควรเป็นไปตามอายุที่โตขึ้นของลูกน้อย เพราะยิ่งลูกโตขึ้นการรับรู้และระบบประสาทของลูกน้อยก็จะสามารถฟังเพลงที่ซับซ้อนและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้น
• วัย 1-3 เดือน ลูกจะชอบฟังเพลงสบายๆ ช้าๆ หรือเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งการฟังเพลงกล่อมจากแม่หรือเสียงที่มีความนุ่มนวล อ่อนโยน จะทําให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ในวัยนี้ลูกจะเริ่มมองหาที่มาของเสียงที่ได้ยิน แสดงความชอบใจและเริ่มเปล่งเสียงตอบสนองในลําคอได้
• วัย 4-5 เดือน ลูกเรียนรู้จังหวะได้มากขึ้น ตอบสนอง ต่อจังหวะและทํานอง เมื่อได้ยินจังหวะที่ชื่นชอบจะยิ้ม ตีมือชอบใจ หรืออาจส่ายหัวตามจังหวะเพลง คุณแม่จึงควรเลือกเพลงหรือดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานให้ลูกฟัง
• วัย  6-12 เดือน ในวัยนี้ลูกมีพัฒนาการทางภาษามากขึ้นและเริ่มออกเสียงเป็นพยางค์ได้บ้างแล้ว คุณแม่อาจเลือกเพลงที่เป็นคําคล้องจองง่ายๆ ให้ลูกฟัง ซึ่งการให้ลูกฟังเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ ง่ายๆ ลูกจะพยายามส่งเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน และแสดงท่าทางต่างๆ ตามเพลง เช่น ผงกศีรษะ โน้มตัวไปมา
• วัย 1-3 ขวบ การให้ลูกฟังเพลงหรือดนตรีที่มีความซับซ้อนจะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองของลูกให้เกิดการจัดเรียงตัวและเกิดความคิดสร้างสรรค์ คุณแม่ควรให้ลูกฟังเพลงที่มีทั้งท่วงทํานองและเนื้อร้องที่หลากหลาย ให้ลูกร้องเพลงและเคาะจังหวะตามไปด้วย จะช่วยเพิ่มทักษะทั้งด้านภาษา การทรงตัวของลูกน้อยนอกเหนือจากการฟังด้วย

เสริมพัฒนาการด้วยเสียงดนตรี
• คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้รับฟังดนตรีหลากหลายประเภท แล้วสังเกตว่าลูกชอบฟังดนตรีแบบไหนมากที่สุด
• ร้องหรือฮัมเพลงให้ลูกฟัง เพราะเด็กจะชอบฟังเสียงของพ่อแม่หรือเสียงของมนุษย์ และเมื่อลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างแล้ว ให้พยายามกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวตามจังหวะ เช่น โยกตัว ปรบมือ หรือผงกศีรษะ ซึ่งการมีกิจกรรมร่วมไปกับการฟังดนตรีจะยิ่งดีต่อพัฒนาการของเด็กมากขึ้น
• เด็กจะชอบฟังเพลงซ้ำๆ คุณแม่อาจร้องเพลงนั้นให้ฟังบ่อยๆ หรือจะเปลี่ยนเนื้อเพลงไปบ้าง เพื่อให้ลูกรู้สึกแปลกใหม่อยู่เสมอ
• เลือกเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เปิดเพลงให้ลูกฟังในช่วงก่อนนอนหรืองีบหลับ เสียงเพลงจะช่วยทําให้ลูกรู้สึกสงบและหลับสบาย
• อย่าเปิดเพลงเสียงดังเกินไปเพราะประสาทการรับเสียงของลูกจะถูกทําลาย
 
ขอบคุณ : น้องกะทิ-ด.ช.ศักดินันท์ ปฏิภาณญาณกิตติ

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาหารหลัก 5 หมู่สำหรับลูกวัยหัดเดิน

                                     เมื่อาหารหลัก 5 หมู่สำหรับลูกวัยหัดเดิน

      เมื่อลูกเปลี่ยนจากวัยคลานมาเป็นวัยหัดเดิน ถือเป็นช่วงเวลาที่เขากำลังมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากสมองของลูกพร้อมรับความท้าทายในการเดินและพูดที่พัฒนาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกเติบโตอย่างมีสุขภาพดีเยี่ยมและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ที่สุด อาหารหลัก 5 หมู่จึงเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะอะไรอาหารของลูกวัยหัดเดินจึงต่างจากของผู้ใหญ่

อาหารครบทั้ง 5 หมู่สำหรับเด็กจะต่างจากของผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ความต้องการสารอาหารของเขาก็ต่างจากของผู้ใหญ่เช่นกัน คุณแม่จึงควรใส่ใจกับความแตกต่างเหล่านี้เมื่อวางแผนมื้ออาหารให้ลูกน้อย


น้ำตาลและเกลือที่จริงแล้วในแต่ละวันลูกวัยหัดเดินควรได้รับเกลือไม่เกิน 1/6 ของปริมาณสูงสุดที่ผู้ใหญ่ได้รับหรือน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรใส่เกลือลงในอาหารที่ทำกินเองที่บ้าน และอาหารผู้ใหญ่บางชนิดก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยหัดเดิน เนื่องจากมีน้ำตาลหรือเกลือมากเกินไป หรือมีสารปรุงแต่งสีและรสสังเคราะห์

กระเพาะอาหารของเด็กวัยนี้จะมีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่ประมาณ 5 เท่า ลูกน้อยจึงต้องการอาหารปริมาณน้อยๆ ในแต่ละมื้อ แต่บ่อยครั้งตลอดวัน ซึ่งอาหารของลูกต้องมีพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน ดังนั้น เพื่อให้ได้สัดส่วนของพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสม ลูกวัยหัดเดินจึงต้องกินอาหารมื้อเล็กๆ 3 มื้อต่อวัน พร้อมอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการระหว่างมื้ออย่างสม่ำเสมอ

ลูกวัยหัดเดินไม่ใช่ผู้ใหญ่ไซส์เล็ก และเด็กต้องการอาหารที่มีไขมันสูงและใยอาหารต่ำแต่ถึงแม้ว่าใยอาหารจะเป็นสิ่งดี แต่ก็ทำให้อิ่มท้อง และการกินมากเกินไปอาจทำให้ลูกไม่ได้รับพลังงานและสารอาหารซึ่งจำเป็นต่อเด็กในวัยนี้ด้วย อาหารหลากชนิดจะมีสารอาหารต่างกัน ดังนั้น การให้ลูกกินอาหารหลากหลายชนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ รวมทั้งเพื่อให้เติบโตอย่างมีสุขภาพดีและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

นมยังคงเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับเด็กวัยหัดเดิน เพราะมีไขมัน พลังงาน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม และเด็กต้องกินนมประมาณ 20 ออนซ์ต่อวัน

-
ปริมาณที่เหมาะสม
-
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร

นม
-
อาหาร หลัก 5 หมู่คืออะไร


อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วย:

คาร์โบไฮเดรต
อาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช และมันฝรั่ง
 คุณสามารถให้ลูกกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทุกมื้อและกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ย่อมได้

ผักและผลไม้
เช่น แครอท กล้วย และมะเขือเทศ
คุณแม่ต้องพยายามให้ลูกกินผักและผลไม้หลากสีเพราะมีสารอาหารต่างชนิด
และควรเน้นให้ลูกกินผักและผลไม้ อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน
แต่คุณแม่ควรทราบไว้ด้วยว่า “ส่วน” ของเด็กวัยนี้จะน้อยกว่า “ส่วน” ของผู้ใหญ่

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
นม ชีส และโยเกิร์ต
ควรให้เด็กวัยหัดเดินกินนมทุกวัน แต่คุณแม่ต้องให้ลูกกินอาหารชนิดอื่นที่ทำจากนม ที่อุดมไปด้วยแคลเซียมควบคู่ไปด้วย
 ลูกน้อยในวัยนี้ควรกินอาหารที่ทำจากนม 3 ส่วนต่อวัน โดยอาจกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ได้

โปรตีน
เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และถั่วชนิดต่างๆ
อาหารในกลุ่มนี้มีธาตุเหล็กและไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย
 คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารจำพวกโปรตีน วันละ 2 ครั้ง เด็กที่กินมังสวิรัติ ควรกินอาหารในกลุ่มนี้ 3 ส่วน และรวมกับอาหารชนิดอื่นหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูงเพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก

ไขมันและน้ำตาล
 เช่น น้ำมัน เนย ขนมเค้ก และบิสกิต
 น้ำมันบางชนิดมีไขมันโอเมก้า 3 และ 6
 คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารกลุ่มนี้ด้วย แต่ว่าให้กินเป็นอาหารเสริม และไม่ใช่กิน แทนอาหารกลุ่มอื่น

อาหารที่ลูกต้องหลีกเลี่ยง
มีอาหารสำหรับลูกน้อยบางชนิดที่คุณแม่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และอาหารบางอย่างต้องหลีกเลี่ยงและงดอย่างเด็ดขาดจึงจะดีที่สุด
  • ควรหลีกเลี่ยงการใส่เกลือหรือใส่ให้น้อยที่สุดถ้าจำเป็น และให้ใส่สมุนไพรและเครื่องเทศแทนหากต้องการปรุงรส คุณแม่อย่าลืมตรวจสอบปริมาณเกลือที่ใช้ในอาหารสำเร็จรูปด้วย
  • ควรหลีกเลี่ยงสารเติมแต่งและสารให้ความหวาน เช่น ที่พบในเครื่องดื่มและลูกอม
  • ไข่และอาหารทะเลชนิดมีเปลือกมีผลต่อกระเพาะอันบอบบาง และอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้หากปรุงไม่เหมาะสม ดังนั้น คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • แม้ว่าผลไม้เปลือกแข็งและถั่ว จะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่เด็กบางคนก็แพ้อาหารชนิดนี้และมีปฏิกิริยารุนแรง สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการแพ้ แต่ก็อาจสำลักได้ ทางที่ดีที่สุดจึงควรเก็บให้พ้นมือเด็กดีกว่า

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษวัย 0-3ปี

 ของเล่นหรือการเล่น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำไปสู่กระบวน การเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดั้งนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ได้เข้าใจ และสามารถนำของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก จะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดี และเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถ นำประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ กับการเรียนรู้ในอนาคตได้ อย่างมีคุณภาพ
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปี   
      เด็กวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเล่น และเรียนรู้ผ่านทางการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส ในวัยนี้เด็กมักชอบนำของทุกชนิดเข้าปาก โดยใช้ปากในการสำรวจของนั้นๆ ทั้งดูด เลีย อม พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะเหล่านี้ โดยหาของเล่นที่มีขนาดเหมาะมือ น้ำหนักเบา ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลอดภัย ล้างทำความสะอาดง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะ ในการใช้มือและตาประสานกัน ในการคว้าจับ เขย่า เอาเข้าปาก พ่อ แม่หรือผู้เลี้ยงดู ไม่ควรดึงมือหรือของเล่นออกจากปากเด็ก เพราะจะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสีย และขาดโอกาสในการใช้ปากสำรวจเพื่อการเรียนรู้ และที่สำคัญพ่อแม่ควรพูดคุย และมีปฎิสัมพันธ์กับลูก ขณะชี้ชวนให้ลูกเล่นอีกด้วย 
     เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำเป็นต้องกระตุ้น การเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องกระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการใช้ของเล่นที่มีความหลากหลายเพื่อสร้างทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงปัญหา ความต้องการและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละรายด้วย

     ถึงแม้ว่าพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุก็ตาม แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่เหมือนกับเด็กปกติ  เด็กพิเศษเหล่านี้ก็สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนได้ และอาจจะมีพฤติกรรมของพัฒนาการ ที่แตกต่างกันออกไปตามปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจคืบ แต่ไม่คลาน แต่จะนั่งและยืน เดินเลย  บางคนอาจรู้จัก ไขว่คว้าของเล่น ในทิศทางต่างๆ กัน ชอบเอาของเล่นเข้าปาก แต่บางคนก็ทำไม่ได้     
Image

     ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กให้เต็มที่  โดยอาจนำของเล่นให้เด็กได้จับสัมผัส หรือกกระตุ้นให้เด็กได้มีโอกาสนำของเล่น  / วัสดุต่าง ๆ เข้าปาก เพื่อ กัด, ย้ำ ,เลียเล่น ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นการเรียนรู้ของเด็ก โดยการใช้ปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้  ในการสัมผัสวัตถุ  / ของเล่น การใช้ตา และมือประสานงานกัน สามารถจับวัตถุ / ของเล่น เข้าปาก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และได้เรียนรู้การสัมผัสพื้นผิว ที่แตกต่างกันของวัตถุ จากการจับ , กัด , ดูด หรือเลีย 
     พ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางท่าน อาจไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ จึงจำกัด หรือห้ามปราม  ไม่ให้เด็กเอาของเข้าปาก อาจเพราะกลัวสกปรกหรือสำลัก  ซึ่งจะทำให้เด็กหงุดหงิด , อารมณ์เสีย และไม่เกิดการเรียนรู้  ดังนั้นพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรเข้าใจ ในพฤติกรรมของเด็ก และส่งเสริมการเรียนทักษะเหล่านี้ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัย ในการเล่นของลูก โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่ สีสันปลอดภัย จับ / กำถนัดมือ สามารถให้เด็กได้สัมผัสผ่านการกัด , ดูด , เลียได้   ขนาดและน้ำหนัก ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน  สามารถล้าง / ซัก อุปกรณ์ของเล่นได้ เมื่อสกปรก ตลอดทั้งพ่อแม่ ควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ระหว่างการเล่นอีกด้วย อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว เพราะเด็กยังไม่รู้จักว่าของเล่นแต่ละชิ้น มีวิธีการเล่นอย่างไร     
          
ความหมายของการเล่น               
     การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว  และนอกจากนี้ การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย
ประโยชน์ของการเล่น1.       ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน
2.       ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.       ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
4.       ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
5.       ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
6.       ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น (flexibility)
7.       ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
8.       ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
9.       ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมุติ
10.    ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ

     การเลือกของเล่น ให้เหมาะกับความสามารถของเด็ก ในแต่ละวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นอย่างมาก พ่อแม่ หรือผู้ดูแล จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกสรรของเล่น และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็ก ให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้  โดยคำนึงถึง
1.       ความปลอดภัย
2.       ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก
3.       ความสนใจของเด็ก
4.       ความสะอาด
5.       ความเหมาะสมของราคา
6.       วิธีการเล่น